Tuesday, February 28, 2006
:: petition49 ::
เว็บ petition49.org เป็นเว็บที่น่าสนใจ หลายคนที่เรียนอยู่ต่างประเทศคงเคยเห็นแล้ว เพราะเพื่อนๆ ส่งต่อถึงกันได้รวดเร็วอย่างกับจดหมายลูกโซ่ นับเป็นการโปรโมทเว็บไซท์แบบ peer-to-peer ที่ประสบผลสำเร็จยิ่ง ;)

เว็บนี้มีเนื้อหาน่าสนใจ ภายในนั้นเขาสรุปข้อกล่าวหาทั้งหลายต่อคุณทักษิณ ชินวัตร (นายกฯ รักษาการในขณะนี้) ว่าประพฤติมิชอบในหน้าที่ หมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ และสมควรที่จะลาออกจากตำแหน่งไป

เนื้อหาส่วนใหญ่ใน "ข้อเรียกร้อง" ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผมเห็นด้วย และบางอย่างก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง (เช่นข้อกล่าวหา "บิดเบือน แทรกแซง ปิดกั้น และคุกคาม สื่อในการเสนอข่าวสาร" ซึ่งผมถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงมากในสังคมประชาธิปไตย)

เว็บนั้นประกาศว่า นักเรียนไทยในต่างประเทศคนใดก็ตามที่เห็นด้วยกับข้อความดังกล่าว กรุณาส่งอีเมลล์ไปที่ petition49@googlemail.com พร้อมกับบอกชื่อเสียงเรียงนาม และสถาบันของตนเอง เพื่อที่จะได้มีชื่ออยู่ในรายชื่อผู้สนับสนุนข้อเรียกร้อง

ขณะที่ผมเขียนอยู่นี้เขารวบรวมรายชื่อได้ 272 ชื่อแล้ว (ภายในเวลาเพียง 5 วัน) นับว่ารวดเร็วและน่าชื่นชมมากเลย

แต่เหตุใดจึงยังไม่มีชื่อ Panuakdet Suwannatat / BS Computer Science / Carnegie Mellon University, USA อยู่ในนั้น?

ผมขออธิบายเหตุผลที่ผม *ยัง* ไม่ตัดสินใจลงนามในข้อเรียกร้องดังกล่าว ด้วยอีเมลล์สองฉบับที่ผมเขียนถึงบุคคลสองบุคคล (ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าเป็นคนเดียวกันหรือไม่)

ฉบับแรก:

From: Panuakdet Suwannatat
Date: Tue, Feb 28, 2006 at 12:25 AM
To: petition49[AT]googlemail.com
Subject: i was gonna join.. but..

Hello peition49 organizers:

I agree to most of your claims. At first I was gonna join, but I wasn't sure who organized [it], and for what purposes.

The website says the petition will be sent to Thai newspapers. I am not sure which ones, and how it will be used.

Manager website, for one, is an example of untrustable media. They have been exaggerating all the news. I am afraid this petition will be used by Sondhi for his own personal agenda, which may result in violence. This would only increase Thaksin's legitimacy.

Furthermore, it does not require enough proof of existance of people who join. (no hard-copy signature, etc.) It only requires valid .edu email address, and this method can't be trusted. So, I think Thaksin people might just say "you could just put any names there. How should people believe in its validity anyway?"

If you can provide an explaination to above questions, it would greatly help me and my friends at Carnegie Mellon make our decisions. Specifically, I would like to know the following:
[1] The real names and institutions of people responsible for petition49.
[2] Which newspapers will you send the [petition] to?
[3] Are you affiliated with any political groups?
[4] How do you plan to show to the public that the names on your website are real and that those people [really] stand behind the petition?

Thank you,
- Panuakdet Suwannatat

เวลาผ่านไปหนึ่งวัน ผมยังไม่ได้อีเมลล์ตอบรับ แต่นั่นคงเป็นเพราะทางทีมงานคงมีภาระหนัก และไม่สามารถตอบกลับอีเมลล์เป็นรายบุคคลได้ อย่างไรก็ดีมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นบนเว็บไซต์ petition49.org ที่ทำให้ผมรู้สึกว่าอีเมลล์ของผมคงมีคนถูกอ่านและได้รับการสนองตอบอย่างดี นั่นคือหน้าใหม่ที่มีหัวข้อว่า "Who are we?"

โดยสรุปแล้ว หน้านั้นกล่าวว่าพวกเขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น และที่ทำไปก็ด้วยใจบริสุทธิ์ ต้องการแสดงพลังอำนาจของประชาชนในการตรวจสอบนักการเมือง อันเป็นสิทธิโดยชอบธรรม

ผมชื่นชมและเห็นด้วยกับคำอธิบายดังกล่าว นั่นเป็นคำตอบของคำถามข้อที่ 3 ในอีเมลล์ฉบับข้างบน

ผมพยายามค้นหาตัวตนของผู้จัดทำ petition49 อีกครั้ง ด้วยเหตุว่าผมไม่ต้องการเซ็นชื่อตนเองลงในเอกสารที่ผมไม่ทราบว่าใครเป็นคนเตรียมให้ จริงอยู่ที่ว่าเอกสารดังกล่าวฟังดูดี และเนื้อหาดูจะมีความบริสุทธิ์ใจ แต่ก็คงจะดีถ้าเราได้ทราบว่าคนที่ร่างเอกสารนั้นคือใคร (หรือองค์กรใด -- และองค์กรนั้นนำโดยใคร) เผื่อว่ามีปัญหาอะไรขึ้นมาจะได้มีผู้รับผิดชอบ

หากผู้ริเริ่มยังมิกล้าเปิดเผยตัวตน แล้วเราผู้ตามจะยอมเปิดเผยตัวตนเพื่อสนับสนุนไปทำไม?

ภายใต้หน้าที่ชื่อว่า "Why should you join us?" มีลิงค์ไปยังเว็บไซต์ www.fringer.org โดยบอกว่าหากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการตัดสินใจก็โปรดไปดูที่นั่น

ผมตามเข้าไปดู -- หวังจะได้พบกับชื่อผู้จัดทำ

ผมพบกับเพลง "พรรคไม่ยอมเปลี่ยนแปลง" ซึ่งมีเนื้อเพลงฮาใช้ได้ [ตัวอย่าง: "ฟ้ายังมีวันแจ่ม แหม่มยังมีวันท้อง / สลากยังมีวันออก จะลาออกตอนนี้ไม่มีทาง! / น้ำมันยังไม่หมด รถเราไม่เคยล้าง / แต่หากจะให้ล้างมือ หมดจนต้องออกไปไม่มีทาง!"] -- ผมล้มกลิ้งไปหลายตลบ แต่ก็ไม่ได้พบกับชื่อจริงของผู้จัดทำ

ผมจึง "คิดใหม่ ทำใหม่" (สโลแกนคุ้นๆ แฮะ?) เสียว่า มานั่งหาเอาอย่างนี้คงจะหาไม่เจอ สู้มานั่งเดาเอาเลยดีกว่าว่าคนนั้น คนนู้น คนนี้ ใช่คนทำหรือเปล่า

ด้วยคำแนะนำของเพื่อนบางคน ผมเดาว่าผู้ริเริ่มก็คงเป็นผู้สนับสนุนคนแรกนั่นแหละ!

ขณะที่ผมเขียนบทความนี้อยู่ ชื่อแรกใน 272 รายชื่อนั้นคือคุณพี่สมชาย {นามสมมติ} แห่ง London School of Economics, UK

หลังจากกูเกิ้ลหาอีเมลล์ของพี่สมชายอยู่สักพัก ผมก็เขียนอีเมลล์ฉบับต่อไปนี้

ฉบับที่สอง:

From: Panuakdet Suwannatat
To: สมชาย {นามสมมติ}

Date: Feb 28, 2006 5:52 PM
Subject: petition49

Sawasdi krab p'[
สมชาย],

My name is Panuakdet Suwannatat (nickname: Mock), a 4th year Computer Science major at Carnegie Mellon University in Pittsburgh, Pennsylvania, USA. Seeing your name as the #1 supporter of the petition49, I suppose you are one of my run' pee' Thai scholars who care about Thai politics.

I must say I agree with most of the claims/propositions on the website (http://petition49.org/), but I hesitate to join the list of supporters because of only one thing: I do not know the identity of those who organize the list, and I am not sure if the method for collecting the names is reliable (e.g. will the public believe there are as many supporters?; do all the names really exist?; how do you know the email addresses are valid?; etc.)

So I am writing this email to ask if you are one of the organizers; and if you aren't, do you know who organize/initiate the petition49? If you don't mind, could you let me know, please? There is something I would like to discuss, and it might help me and my friends at Carnegie Mellon make our decisions more easily.

Thank you,
- Mock


อีเมลล์ฉบับนั้นเพิ่งส่งออกไปได้ชั่วโมงเดียว ผมได้รับคำตอบเมื่อไหร่แล้วจะมาเล่าให้ฟังต่อไป :)

หมายเหตุ:

[4:17 PM 3/1/2006]
(1) ผมตัดสินใจแก้ไขชื่อคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยแทนที่ด้วยนามสมมติ
(2) ท่านสามารถอ่านตอนต่อไปได้ที่นี่

Monday, February 27, 2006
:: RSS feeds และ Google Home Page ::
หลายคนคงเคยเห็นไอคอน xml หรือ rss ในเว็บจำพวก cnn.com หรือ *.blogspot.com หรือใครที่ใช้ browser ชื่อ Firefox คงเคยเห็นไอคอน orange rectangle ปรากฎอยู่บนด้านขวาของ address bar

ไอคอนสีส้มๆ พวกนี้ดูสวยดี แต่มันมีไว้ทำอะไร?

ขอเขียนถึงไอคอน xml และ rss ก่อนก็แล้วกัน

สองไอคอนนี้ระบุให้เราทราบว่าเว็บที่เราเข้าไปนั้น มี "feed" ให้เราเอาไปใช้ได้ คำว่า feed นั้นคืออะไร? และเอาไปใช้ที่ไหน? ใช้แล้วมีประโยชน์อย่างไร? (คำว่า feed นี้เป็นคำกลางๆ .. บางตำราเรียก rss feed, xml feed, หรือ atom feed ผมขอไม่อธิบายความแตกต่างในที่นี้)

อธิบายด้วยการยกตัวอย่างดีกว่า สมมติว่าผมเข้าไปในเว็บเหล่านี้เป็นประจำ: cnn.com, mocksk.blogspot.com, torut.blogspot.com และ ts44.org เว็บเหล่านี้บางวันก็อัพเดต บางวันก็ไม่อัพเดต บางวันเรื่องราวก็น่าสนใจ บางวันก็น่าเบื่อ ทุกๆ วันผมก็ต้องมานั่งเปิดทุกๆ เว็บ แล้วดูว่ามีเรื่องที่น่าสนใจหรือไม่ ... การทำอย่างนี้เป็นการเสียเวลาพอสมควร

ผมจึงมานั่งนึกว่า คงจะดีเนอะ ถ้าผมสามารถ "จ้าง" ใครมาสักคนแล้วสั่งให้เขาเข้าไปดูตามเว็บพวกนี้ให้หมด แล้วนำหัวข้อล่าสุด 5 อันแรก ของแต่ละเว็บเข้ามาแสดงรวมกันในหน้าหน้าเดียว คราวนี้ละก็ ผมเพียงแต่เปิดเว็บเพจที่ "ลูกจ้าง" ของผมคนนั้นทำไว้ให้ ผมก็สามารถรู้ได้ทันทีว่ามีอะไรใหม่ๆ ให้ผมเข้าไปดูบ้าง และผมก็สามารถคลิกไปดูรายละเอียดของบทความในเว็บที่ผมสนใจได้ทันที

ในโลกปัจจุบัน "ลูกจ้าง" คนนั้นมีจริง และมีค่าจ้างเป็น 0

ลูกจ้างเหล่านี้มีหลายยี่ห้อด้วย ภาษาเทคนิคเขาเรียกว่า news reader หรือ rss reader บ้างก็เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ บ้างก็เป็นโปรแกรมที่รันบนเว็บ ในบทความนี้ผมขอแนะนำสิ่งที่เรียกว่า Google Home Page ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมใช้เป็นประจำ

ก่อนอื่นผมก็เข้าไปที่ http://google.com/ig จากนั้นก็ login ด้วย Google Account (ก็คือ gmail account นั่นแหละ -- ถ้าใครไม่มีขอผมได้) พอเข้าไปแล้วเราจะเห็นแถบตั้งต้นสองสามแถบ เราสามารถใช้เมาส์ลากย้ายตำแหน่งแถบเหล่านั้นได้ตามตำบลใจ ..เอ้ย.. อำเภอใจ

บนมุมบนซ้ายจะเห็นคำว่า "Add Content" หากเราคลิกที่ตรงนี้จะมีเมนูโผล่ขึ้นมาทางซ้ายให้เราเลือกมากมาย เช่น BBC news, movies, Word of the Day, Fox Sports, ฯลฯ เราสามารถ add ได้ตามใจชอบ หากเราไม่พอใจอันไหนก็เอาออกได้ง่าย เพียงแค่กดปุ่ม x บนแถบที่ไม่ต้องการ

คราวนี้ท่านผู้อ่านคงถาม: "ไหนหว่า? ไม่เห็นมี ts44.org หรือว่า mocksk.blogspot.com ให้เลือกเลย?"

ผมตอบ: "ไม่มีหรอกครับ แต่ถ้าคุณสังเกตด้านล่างจะมีกล่องข้อความเล็กๆ เขียนว่า "Search by topic or feed URL" ตรงนี้นั่นเองที่เราสามารถใส่ url (ที่อยู่) ของ feed ที่เราต้องการเข้าไปได้

วิธีการหา feed URL นั้นง่ายนิดเดียวครับ เพียงแต่เข้าไปในเว็บที่ต้องการแล้วคลิกที่ปุ่มส้มๆ (xml หรือ rss) บราวเซอร์ของคุณก็จะเปิดหน้าหนึ่งขึ้นมา หน้าตาประมาณนี้:
  <?xml version="1.0" encoding="utf-8" ?>
<!DOCTYPE rss (View Source for full doctype...)>
- <rss version="2.0" xml:base="http://ts44.thaischolar.net">
blah blah blahhh ...
ซึ่ง เอ่อ... อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง แน่นอนครับมันไม่ได้มีไว้ให้มนุษย์อ่าน (แต่มนุษย์บางคนก็อ่านออก ) มันมีไว้ให้ rss reader อ่านต่างหากล่ะ สิ่งที่คุณต้องสนใจไม่ใช่เนื้อหาในหน้านั้น แต่เป็น url ของหน้านั้นซึ่งปรากฏอยู่บน address bar ต่างหาก ตัวอย่างเช่น feed URL ของ ts44.org ก็คือ http://ts44.thaischolar.net/?q=node/feed

จากนั้นสิ่งที่ต้องทำก็เพียงแค่ copy แอดเดรสดังกล่าว แล้วเอาไปแปะในกล่องข้อความ "Search by topic or feed URL" ใน Google Home Page แล้วกดปุ่ม add เท่านี้ก็จบเรียบร้อย คุณสามารถเพิ่ม feed URLs อื่นๆ ได้ตามต้องการ และสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงของเว็บต่างๆ หลายๆ เว็บ (รวมไปถึง gmail inbox ของคุณด้วย!) ได้ในหน้าเดียว

ชีวิตนี้มันช่างง่ายดายเสียนี่กระไร :-)

Friday, February 17, 2006
:: Captcha - บททดสอบความเป็นมนุษย์ ::
ผ่านไปเห็น blog ของคุณ Hui ที่เขียนเรื่อง Hotmail ทำไมถามยากจัง แล้วก็ทำให้นึกถึงโปรเจก Captcha ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของ Carnegie Mellon

ผมเคยเรียนวิชา Algorithms กับอาจารย์ Manuel Blum ซึ่งเป็นหนึ่งใน principal investigators ของโปรเจกดังกล่าว

Captcha ย่อมาจาก "completely automated public Turing test to tell computers and humans apart" เป็นวิธีที่เว็บดังๆ อย่างเช่น gmail, yahoo, hotmail, ฯลฯ ใช้ในการตรวจสอบว่าบุคคลที่เข้ามาใช้บริการเป็นมนุษย์จริงหรือเปล่า -- เขาไม่ได้กลัวหมาแมวที่ไหนมาใช้หรอกครับ เขากลัวโปรแกรมอัตโนมัติของพวก spammers เข้ามาใช้ต่างหาก

วิธีการที่ใช้กันโดยส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นการนำรูปภาพของตัวอักษรที่บิดเบี้ยว (เช่นแบบนี้) ขึ้นมาโชว์ขอให้ผู้ใช้พิมพ์ตัวอักษรเหล่านั้นลงไป มนุษย์(ส่วนใหญ่)ไม่มีปัญหากับโจทย์ประเภทนี้ แต่หากจะเขียนโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์อ่านตัวอักษรเหล่านั้นได้ก็คงยากเอาการ (แต่ก็มีคนพยายามทำ เช่นคนเหล่านี้ที่ Berkeley)

โปรเจก Captcha ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ยังพยายามพัฒนาต่อไปด้วยการสร้างแบบทดสอบที่ยากขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งผมคิดว่า "เอ? มนุษย์อย่างผมยังว่ามันยากไปหน่อยเลยนะ" ยกตัวอย่างเช่นตัวทดสอบที่ชื่อ ESP-PIX ซึ่งโจทย์จะแสดงรูปภาพสี่ภาพ แล้วถามเราผ่านคำถามแบบ multiple-choice ว่าคำที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพทั้งสี่มากที่สุดคือคำใด

โจทย์ส่วนใหญ่มักจะง่ายสำหรับมนุษย์ เห็นปุ๊บรู้ปั๊บว่าควรใช้คำใด เวลาตอบถูกเขาก็จะบอกว่าเรา "Passed the test" แต่ก็มีบางครั้งที่ผมเห็นภาพแล้วนึกไม่ออกเลยว่าจะเอาคำใดมาอธิบาย (นึกความสัมพันธ์ไม่ออกเลยจริงๆ ไม่ใช่นึกคำไม่ออก -- ดังนั้นนี่ไม่ใช่ปัญหาด้านภาษา) พอตอบผิดเขาก็จะบอกว่าเรา "Failed the test" ซึ่งเป็นคำพูดที่ทำให้รู้สึกแย่พอสมควร

จะไม่รู้สึกแย่ได้อย่างไร อยู่ดีๆ ก็มีคอมพิวเตอร์มาบอกเราว่า "คุณสอบตกในบททดสอบความเป็นมนุษย์" ... บัดซบ!!!

ลองเข้าไปเล่นดูสิครับ ลองได้ที่ http://gs264.sp.cs.cmu.edu/cgi-bin/esp-pix สนุกดีจริงๆ นอกจากนี้ผลการเล่นของคุณยังอาจช่วยนักวิจัยเก็บสถิติสำหรับพัฒนาระบบให้ดีขึ้นในอนาคตอีกด้วย

ดูซิว่าใครจะมีความเป็นมนุษย์มากกว่ากัน :D

Thursday, February 16, 2006
:: 50000 names against Thaksin, interested? ::
นั่นคือ subject line ของอีเมลล์ที่ผมส่้งไปหาเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาว Carnegie Mellon เมื่อสักครู่ เนื้อหาของอีเมลล์มีดังนี้...

Dear SIAM,

First of all, sorry for sending out a mass email, and my apology if this message does not interest you. Some of you may also find the content of this email offensive; I apologize in advance.

The political situation in Thailand is now hotter than ever. As a citizen of Thailand, I am writing to urge you all to consider the issues carefully, and also consider the steps that you can take to protect our country from harms and violence.

In Thailand, there are people who still want to keep the current prime minister, and there are people who want to drive him out of the office. I am one of the latter.

If you love PM Thaksin, or, for any reason, still want him to stay in the office. I respect your opinion. Please ignore this email. It does not apply to you.

But if you think he is no longer qualified for the job, let us take some actions. Under the constitution , we have the right to voice our opinion, and to petition the Senate to consider removing Mr Prime Minister from his office. This is a peaceful step that I have decided to take.

Thammasart University Students Organization is trying to collect 50,000 signatures for that purpose. If you would like to join, here is how:

We can just download a simple form, sign, and then send it, along with a photocopy of our photo ID, to Thammasart University. Since we are in the USA, it will be a good idea to mail them out together. I am more than willing to collect your documents and mail them out in a big batch -- this will save the cost of stamps, and will allow us to afford express delivery. Plus, you don't have to waste time finding and addressing the envelopes. :D

Please take a look at my special blog:
http://byethaksin.blogspot.com
where I summarize this simple process (along with its rationale)

Please join me if you can. Feel free to contact me by email (iammock[AT]cmu.edu) or cellphone 412-225-2824, or google talk: panuakdet[AT] gmail.com, or msn: mocksk[AT] gmail.com, at any time.

Finally, let me note that I am doing this on my own -- not on behalf of SIAM (the Thai Students Association at Carnegie Mellon) or any organization. I understand that it is my right as a citizen of Thailand, and I will be solely responsible for my actions.

Thank you very much for your time,
- mock

Tuesday, February 14, 2006
:: Functional Love ::
รักของฉัน เปรียบได้ ดั่ง function
one-to-one ไม่ผันแปร แน่เสมอ
หนึ่งใจฉัน ชี้ตรงหา หนึ่งใจเธอ
มิเคยเผลอ map ใจ ไปหาใคร

แต่เธอนั้น รักแบบ one-to-many
รักกับฉัน อยู่ดีดี กลับเฉไฉ
เธอดัน map ไปหาเขา อีกหนึ่งใจ
ปล่อยฉันให้ ทุกข์ระทม จมน้ำตา

หากจะรัก ใครใหม่ อีกสักคน
จงสืบค้น พิสูจน์ใจ ให้ดีหนา
relation ที่เค้ามอบ ให้เรามา
จงดูว่า เป็น function หรือเปล่าเอย

ฺBy Mock
composed: 25 Jan 06
published: 14 Feb 06
หมายเหตุ: เขียนเล่นๆ นี่ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว

Sunday, February 12, 2006
:: UC Berkeley ::
UC Berkeley ย่อมาจาก University of California - Berkeley
แปลว่า มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ณ เมืองเบอร์กลีย์ (บางคนอ่านว่า เบอร์กเลย์)
เว็บไซต์อยู่ที่ http://berkeley.edu
นี่เป็นแคมปัสที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียทั้งปวง [ข้อมูลจาก wikipedia]

เมื่อวานขณะนั่งรถอยู่กับเพื่อนๆ (แก๊บ พี่อัก พี่กบ แชร์ ฮิม) เพื่อจะไปทานอาหารเย็นที่ร้าน Steak & Shake ณ Waterfront (ชื่อย่อ: WTF) ผมก็ได้อีเมลล์ฉบับหนึ่งทางโทรศัพท์มือถือ อ่านได้ใจความว่า "ขอแสดงความยินดีจาก Berkeley: เรารู้สึกดีใจที่จะได้บอกคุณว่าคุณได้รับการ..." แล้วก็จบอยู่แค่นั้นเพราะข้อความ SMS ถูกจำกัดความยาว จากที่นั่งรถอยู่สบายๆ ผมก็รู้สึกกระสับกระส่ายขึ้นในทันใด แล้วเอ่ยขึ้นว่า "เอ่อ... ผมต้องการอินเตอร์เน็ต"

พอยื่นโทรศัพท์ให้เพื่อนๆ ดู ทุกคนก็แสดงความดีใจกันใหญ่ว่าผมได้รับคัดเลือกให้เข้าเรียนโปรแกรม PhD (ปริญญาเอก) ที่ Berkeley เรียบร้อยแล้ว โหวกเหวกกันใหญ่ว่า "อย่างนี้ Mock ต้องเลี้ยง!!!! ๆๆๆๆๆๆ" มีผมคนเดียวที่นั่งหน้าซีดด้วยความตกใจ ตื่นเต้น และกังวล ... โถ่ ... ก็ผมยังไม่รู้ว่าเขาหมายถึงอะไร เป็นอีเมลล์จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ ส่งถูกคนหรือเปล่าก็ไม่รู้ และบอกว่าเรา "ได้รับการ..." อะไรก็ไม่รู้!!!!!

แก๊บ รูมเมทผู้แสนดี(?) จึงรีบขับรถไปจอดที่ร้านหนังสือ Barns and Noble เพื่อให้ผมเข้าไปใช้อินเตอร์เน็ตที่ร้านกาแฟ Starbucks ผมหยิบ laptop ขึ้นมา, จ่ายสตางค์ $3.95 เป็นค่าใช้อินเตอร์เน็ต (ใช้ได้สองชั่วโมง -- โค-ตะ-ระ-แพง), แล้วก็เช็คอีเมลล์ในทันใด

เป็นข่าวที่ถูกต้อง: Berkeley อีเมลล์มาบอกผมว่าเขารับผมเข้าเรียนที่นั่นแล้วจริงๆ!!!!! ผมดีใจจนบอกไม่ถูก .. แต่นอกเหนือจากความดีใจมันเป็นความตกใจเสียมากกว่า ตกใจเพราะไม่ได้คาดคิดว่าจะติดที่นี่ และไม่คิดว่าจะได้รับข่าวดีเร็วขนาดนี้

เพื่อนๆ ถามว่า "ข่าวดีอย่างนี้ต้องเลี้ยงใช่ไหม?" (ดูมันถาม..) ผมก็พยักหน้าไปโดยไม่รู้ตัว (..ให้ตาย)

ทุกคนกลับเข้าไปในรถแก๊บอีกครั้ง เขาคุยอะไรกันในรถผมจำไม่ได้ พอลงจากรถก็เดินเข้าไปในร้านอาหารร้านหนึ่ง หน้าตาไม่ค่อยคล้าย Steak & Shake สักเท่าไหร่ ไม่นานนักบริกรก็จัดแจงหา "ห้องส่วนตัว" ให้พวกเราได้นั่งโหวกเหวกโวยวายกันในห้องอาหารพิเศษที่มีประตูปิดมิดชิด

ปรากฎว่ามันเป็นร้าน Fish Market -- ร้าน Seafood ที่แพงที่สุดที่ผมเคยรับประทานมาในชีวิตนี้

"อ้าว เฮ้ย!!! เรามาโผล่ที่นี่ได้ไง(วะ)?" ผมถามเพื่อนๆ

"อ้าว... ก็ Mock จะเลี้ยงทั้งที จะไป Steak & Shake ได้ไง ... มันต้อง Fish Market! แกติด Berkeley เชียวนะเว้ย!!!!!!!!" ใครบางคนตอบ

"เอ่ออออ...." ผมพูดไม่ออก -_-

พวกเราสั่งอาหารมาทานกันอย่างเอร็ดอร่อย (ผมคงจะอร่อยกว่านี้ถ้าคนจ่ายสตางค์ไม่ใช่ผม @_@) ทานไปผมก็ยังตกใจไป ยังตื่นเต้นไม่หายกับข่าวดีที่ไม่เคยคาดคิดว่าจะได้

การสมัครมหาวิทยาลัยนั้นเป็นกระบวนการที่โหดร้ายทารุณและน่าเบื่อมากที่สุด ไหนจะเอกสารกองโตที่ต้องนั่งกรอกซ้ำแล้วซ้ำเล่า(แม้ว่าส่วนใหญ่เป็นออนไลน์ก็ตาม) ไหนจะข้อสอบ GRE ทั้งแบบวิชาทั่วไปและแบบรายวิชาเฉพาะที่ต้องเตรียมตัวสอบ ไหนจะต้องมานั่งเขียนบทความสำหรับโม้ตัวเองให้เขารู้สึกสนใจในตัวเรา ไหนจะต้องไปขอให้อาจารย์อย่างน้อยสามท่านช่วยเขียนโฆษณาตัวเราเพื่อใช้เป็นใบผ่านทาง ฯลฯ .. อ้อ! และที่สำคัญที่สุดก็คือต้องจ่ายสตางค์จำนวน "มหาศาาาาาาาาาาาาาล" ให้กับค่าสมัครเอย ค่าสอบ GRE เอย ค่าส่งคะแนนเอย ค่าขอ transcript จากโรงเรียนเอย ค่าส่งเอกสารทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษเอย ฯลฯ สำหรับคนที่สมัครมหาวิทยาลัยไปหนึ่งโหล (12 แห่ง -- ใช่ครับ สิบสองแห่ง!) อย่างผม ค่าใช้จ่ายเหล่านี้รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า $1500

ทำไมผมถึงสมัครไปถึง 12 แห่ง? ในเมื่อสุดท้ายก็ต้องเลือกไปเพียงแค่แห่งเดียวอยู่ดี?

คำตอบก็คือ: ผมจะรู้ได้ไงว่าใครจะรับผม? มหาวิทยาลัยที่ผมสมัครไปนั้นก็มีอยู่ราว 5-6 แห่งที่ผมพอจะมีความหวังอยู่บ้าง และอาจจะสัก 1-2 แห่งที่มีความหวังมากหน่อย แต่ก็มีอยู่ราวๆ 3-4 แห่งที่ผมสมัครไปโดยที่คิดว่า "เอาวะ! เผื่อฟลุคได้ สมัครไปก่อนเถอะ ไม่ลองไม่รู้ อย่าไปเสียดายตังค์เลย" และ Berkeley ก็เป็นหนึ่งในนั้น

จริงอย่างที่พี่เบิร์ดว่าไว้ในเพลง "ไม่แข่งยิ่งแพ้":
"การแพ้เพราะไม่เคยได้ลงแข่ง น่าเสียดาย น่าเซี้ยยยยยดาายยยย"

ผมไม่อยากจะเสียดายก็เลยต้องลองลงแข่งดูสักหน่อย ยอมเสียตังค์ดีกว่าต้องเสียดาย (และเซี้ยยยยดายยย) ในภายหลัง

เนื่องจากความเบื่อกับอากาศหนาวในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผมอยู่ในขณะนี้ กอปรกับความอิจฉาคนในฝั่ง West Coast ที่มีอากาศดีๆ มีอาหารอร่อยๆ และมีที่เที่ยวสวยๆ งามๆ มากมาย ผมจึงใฝ่ฝันอยู่ตลอดเวลาว่าอยากจะย้ายไปอยู่ California

ด้วยเหตุนี้ 5 ใน 12 มหาวิทยาลัยที่ผมสมัคร จึงตั้งอยู่ใน California ทั้งนั้น มหาวิทยาลัยเหล่านี้คือ Stanford, UC Berkeley, UC Los Angeles, UC Santa Barbara, และ UC San Diego

ซึ่งผมคิดว่า ถ้าผมได้ที่ไหนสักแห่งใน 5 แห่งนี้ ผมคงจะไปแหงๆ ยกเว้นแต่ว่าที่อื่นจะมี "ความน่าสนใจ" ในแง่ใดแง่หนึ่งที่โดดเด่นกว่าที่นี่ (ซึ่ง .. คงไม่มีทาง)

และแล้ววันนี้(หมายถึงเมื่อวาน) ผมก็ได้รับการตอบรับจาก UC Berkeley นับว่าเป็นข่าวดีมากที่สุดข่าวหนึ่งในชีวิต ผมจะได้ย้ายไปอยู่ California สมใจแน่แล้ว :-)

เมื่อครู่นี้ผมใช้ Google Earth ส่องดู พบว่า Berkeley นั้นอยู่ห่างจากสำนักงานใหญ่ของ Google เพียงแค่ 46 ไมล์ เท่านั้นเอง :D (ใครที่ไม่ชอบ Google โปรดอย่าหมันไส้นะครับ แหะๆ)

คิดแล้วก็หายเหนื่อย ไม่เสียแรงเลยที่ต้องนั่งเขียน essays และกรอกใบสมัครหามรุ่งหามค่ำว่าครึ่งเดือน, ที่ต้องไปเดินตามขอร้องอาจารย์ให้เขียน recommendation letters (จดหมายโฆษณา) ให้เรา, ที่ต้องหยุดโปรแกรมการออกกำลังกายไปเกือบเดือนเพื่อมาทุ่มให้กับการสมัครมหาวิทยาลัยทำให้น้ำหนักขึ้นมาหลายปอนด์, ที่ต้องทำอะไรต่างๆ อีกมากมายเพื่อให้ได้มาซึ่งมหาวิทยาลัยที่ต้องการ

และถึงบัดนี้ก็ไม่เสียดายสตางค์กว่า $1500 ที่ต้องจ่ายให้กับขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการสมัครนั้นเลย (เอ้อ! ไม่ใช่สิ หลังจากดินเนอร์มื้อเมื่อวาน ต้องบวกเข้าไปอีก $240 -_-" )

สุดท้ายนี้ก็ต้องขอขอบคุณทุกๆ คนที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จครั้งนี้ ซึ่งมีมากมายเหลือเกิน จะกล่ายถึงคงไม่หมด แต่ขอยกมาเป็นรายการสั้นๆ:
  1. ขอบคุณเงินภาษีของคนไทย
  2. ขอบคุณทางบ้าน ขอบคุณ คุณย่า คุณพ่อ คุณแม่ พี่นัท พี่โม่ คุณอา ฯลฯ ที่ให้กำลังใจม็อคมาโดยตลอด รวมทั้งขอบคุณหลานๆ มีน มาย มิว มะหมี่ ที่คอยเชียร์น้าม็อค
  3. ขอบคุณสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยเฉพาะห้องกุหลาบเพชรและอาจารย์ผกาวดี ทิพย์พยอม ขอบคุณพี่ๆ ทุกคน โดยเฉพาะพี่พิทย์ สุวงศ์ ที่ถ่ายทอดวิทยายุทธ์ทาง computer science บทแรกให้กับผม
  4. ขอบคุณ Carnegie Mellon ที่สอนวิชาโหดๆ ให้การบ้านโหดๆ กับผมมาตลอดสามปีกว่าๆ Special thanks to Prof Alex Rudnicky, Prof Christopher Olston, Prof Kenneth Koedinger, and Darren Gergle for writing (or co-writing) my recommendation letters.
  5. ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ให้กำลังใจตอนสมัคร และช่วยแสดงความดีใจตอนที่รู้ผล ขอบคุณ แก๊บ พี่อัก พี่กบ แชร์ ฮิม เป็นพิเศษที่ช่วยลุ้น ณ เวลาที่ผมเช็คอีเมลล์ และช่วยกินข้าว(กินปลา)ฉลองข่าวดีนี้อย่างทันท่วงที (สำหรับเพื่อนๆ ท่านอื่น ไม่ต้องห่วงครับ ผมจะเลี้ยงน้ำเปล่าทุกคนเอง -- ผมเองก็อาจต้องกินน้ำเปล่าแทนข้าวเหมือนกัน -- หมดตัวแล้ว แหะๆ)
  6. ขอบคุณแฟนคลับทุกคน ทั้งแฟนเก่า(ซึ่งมีอยู่คนนึง--แบงค์) และแฟนใหม่(ซึ่งยังไม่มี) ที่คอยให้กำลังใจมาโดยตลอด :D 555ๆๆๆๆๆ
  7. ขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่กำลังอ่านอยู่นี้
  8. ขอบคุณคนอื่นๆ ทุกคนที่ผมลืมขอบคุณ
=== จบข่าว :) ===

Tuesday, February 07, 2006
:: The Brick Testament - ใบเบิ้ลบนเลโก้ ::
Phongvarin, one of my Thai friends who are Catholics, sent me this
An illustrated Bible
http://www.thebricktestament.com/
presented by The Rev. Brendan Powell Smith

and I find it very interesting, educational, and cute!

Although I am a buddhist, I am also interested in learning more about other religions/beliefs -- especially when they are illustrated by Lego!

It would be great if somebody would build something like this for Buddhism's Tripitaka as well, esp. for the Sutra Pitaka which tells the story of how the Buddha teaches and interacts with his followers, opponents, and the public. This would make a GREAT educational tool for people of all ages.

And now, the Thai version...

ผมได้มีโอกาสไปพบกับเว็บไซต์เว็บไซต์หนึ่งซึ่งคุณพงษ์วาริน เพื่อนผมซึ่งเป็นคาธอลิกได้ส่งมาให้ เชิญคลิกที่ลิงค์ด้านบน

นั่นเป็นการ์ตูนที่สร้างจากตัวต่อเลโก้ ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวตามคัมภีร์ไบเบิ้ลของคริสตศาสนา เท่าที่ดูมาพงษ์วารินบอกว่าถูกต้องตามไบเบิ้ลทุกประการ

ใช่ครับ ผมเป็นชาวพุธ แต่ผมก็สนใจที่จะเรียนรู้เรื่องราวของศาสนาอื่นเหมือนกัน แต่จะให้ไปนั่งอ่านไบเบิ้ลทั้งที่ยังอ่านพระไตรปิฎกไม่ถึงเศษเสี้ยวนั้นก็กระไรอยู่ .. อย่างไรก็ตามเมื่อเห็นเว็บนี้แล้ว ผมคงจะอยากไปศึกษาไบเบิ้ลมากขึ้นสักหน่อย -- ก็แหม เขาทำได้น่ารักขนาดนั้น

คงจะดีถ้ามีใครนำำไอเดียนี้มาใ้ช้กับพระพุทธศาสนาบ้าง โดยเฉพาะการเล่าพุทธประวัติ หรือไม่ก็ส่วนที่เป็นพระสุตตันตปิฎก เด็กๆ จะได้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างสนุกสนานมากยิ่งขึ้น

ใครคิดเห็นว่าไง?

Sunday, February 05, 2006
:: คุณวินทร์กำลังทำอะไรอยู่? ::
นั่นคือคำถามที่มีคนถามบนเว็บบอร์ดของคุณวินทร์ เลียววาริณ และนี่คือคำตอบที่เขาตอบ:

ตอบเมื่อ: 2006-02-04 17:14:12 ถ้าหมายถึง "งานใหม่" จริงๆ ก็ยังไม่เสร็จ เพราะผมทำงานล่วงหน้าเป็นปี แต่ถ้าหมายถึงงานใหม่ที่จะตีพิมพ์เร็วๆ นี้ก็เสร็จแล้วครับ รอกระบวนการจัดพิมพ์ เดือนมีนาคมคงคลอดออกมา

ตอนนี้ผมมีงานลงในมติชนสุดสัปดาห์, a day, เปรียว, GM (ร่วมกับปราบดา), สารกระตุ้น และที่นี่ครับ

ป.ล. หนังสือที่กำลังอ่านอยู่ตอนนี้เป็นประวัติของ Google ครับ
[จาก http://www.winbookclub.com/talk_answer.php?id=4017]

ว้าว!!! :D
คุณวินทร์กำลัีงอ่านประวัติของ Google
อีกไม่นานเราอาจจะได้เห็น "search engine บนเส้นขนาน" ก็ได้ ฮ่าๆๆๆๆ

Thursday, February 02, 2006
:: mockgle ::
เปิดตัวแล้วครับสำหรับ blog ใหม่ล่าสุดของผม
mockgle - mock's love story with google
http://mockgle.blogspot.com

และนี่คือสารบัญ (บรรทัดที่คลิกได้คือตอนที่เขียนเสร็จแล้ว)

(ร่าง) คำนำสู่ mockgle

ช่วงนี้ก็ใกล้เทศกาลหางานที่ CMU อีกแล้ว ราวต้นเดือนหน้าบริษัทต่างๆ ก็จะมา recruit หาพนักงาน (ซึ่งส่วนใหญ่คงมุ่งเป้าที่ summer internship) ผมเขียนเรื่อง mockgle ขึ้นมานี้ก็ด้วยจุดประสงค์สองประการคือ
  1. เป็นบันทึกส่วนตัว เก็บไว้เตือนความจำ
  2. เพื่อเล่าประสบการณ์ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ น้องๆ ที่กำลังหางาน
การสัมภาษณ์งานนั้นเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่า แม้คุณไม่สนใจจะหางานทำแต่ก็ควรลองหาโอกาสไปสมัครและสัมภาษณ์ดูสักครั้ง อย่างน้อยถึงแม้ไม่ได้เข้ารอบแต่การได้คุยกับ engineer ของบริษัทใหญ่ๆ ก็ถือว่าสนุกและเป็นเกียรติมากแล้ว
คำแนะนำในการสัมภาษณ์งานที่ดีนั้นขอเชิญหาอ่านจากที่อื่น -- ผมไม่ทราบ และคงให้คำแนะนำที่ดีไม่ได้ แต่หากอยากทราบว่าบรรยากาศการสัมภาษณ์นั้นเป็นเช่นไร? คำถามที่อาจถูกถามเป็นแนวไหน? ก็ขอเชิญอ่านได้ที่บันทึกของผมซึ่งเป็นการเล่าเรื่องตามประสบการณ์จริง
(ขณะนี้เขียนถึงบทที่ 4 ซึ่งครอบคลุมการสัมภาษณ์สองครั้ง)

This page is powered by Blogger. Isn't yours?