Sunday, July 24, 2005 |
ต่อไปนี้เป็นเหตุการณ์สมมติที่ผมแปล+ดัดแปลงมาจากบทที่ 17 ของนิทานเรื่อง The Restaurant at the End of the Universe แต่งโดยคุณ Douglas Adams นิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สองในซีรี่ส์ "The Ultimate Hitchhiker's Guide" ซึ่งคุณ Pure ให้ผมยืมหนังสือเล่มนี้มาอ่านเล่น ขอขอบคุณ Pure มา ณ ที่นี้
พี่น้องคู่หนึ่ง นามว่าสมชายและสมปอง ไปรับประทานอาหารด้วยกัน ณ ร้านอาหารหรูแห่งหนึ่งในดินแดนแห่งเทพนิยาย ระหว่างที่ทั้งสองคนกำลังรอบริกรมารับออร์เดอร์อยู่นั้น ก็มีวัวตัวใหญ่ตัวหนึ่งเดินเข้ามา วัวตัวนั้นยิ้มน้อยๆ ที่มุมปาก และมองมาที่คนทั้งสอง
และแน่นอน เนื่องจากที่นี่เป็นดินแดนแห่งเทพนิยาย วัวตัวนี้จึงพูดได้
วัวเอ่ยขึ้นอย่างสุภาพว่า "สวัสดีครับท่านทั้งสอง กระผมคือรายการอาหารแนะนำแห่งค่ำคืนนี้ ท่านจะสนใจรับประทานส่วนใดของร่างกายกระผมไหมครับ?"
สมชายทำท่าตกใจ ในขณะที่สมปองน้ำลายไหลเนื่องจากความหิว และอีกอย่าง วัวตัวนี้ก็น่ากินมาก
"เนื้อบริเวณหัวไหล่ดีไหมครับ?" วัวเสนอ "นำไปนึ่งในซอสไวน์ขาวก็น่าจะดีนะครับ?"
"เอ่อ... หัวไหล่ของแกน่ะรึ?!?" สมชายกระซิบขึ้นเบาๆ ด้วยน้ำเสียงที่ค่อนข้างเสียขวัญเล็กน้อย
"ใช่ครับท่าน หัวไหล่ของผมสิครับ ผมไม่มีสิทธิเสนอหัวไหล่ของคนอื่น เอ๊ย ตัวอื่นนี่ครับ" วัวตอบด้วยน้ำเสียงแห่งความภาคภูมิใจ
สมปองเขยิบเก้าอี้เข้าไปใกล้ๆ วัว นำมือไปลูบหัวไหล่ของมันที่มีเนื้อหนานุ่มด้วยสีหน้าอันหิวกระหาย สมชายยังคงทำสีหน้าสับสน ราวกับไม่เชื่อหูของตัวเอง
"หรือจะเนื้อสะโพกก็อร่อยดีนะครับ" วัวกล่าว "ผมออกกำลังกายบริเวณนั้นสม่ำเสมอ และผมยังทานพืชพันธุ์ธัญญาหารมากมาย ดังนั้นจึงมีเนื้อชั้นดีเลยหละครับ" วัวมองคนทั้งสองด้วยสายตาอ้อนวอน
"เฮ๊ย ... นี่เจ้าวัวตัวนี้มันต้องการให้เรากินมันจริงๆ เหรอวะ?" สมชายเอ่ยขึ้น "โคตรสยดสยองอ่ะ! เกิดมาตูยังไม่เคยได้ยินอะไรที่มันน่าสะอิดสะเอียนถึงเพียงนี้"
"คิดอะไรมากน่า... พี่สมชาย ผมไม่เห็นว่ามันจะมีปัญหาอะไร" สมปองตอบ พร้อมกับเปลี่ยนตำแหน่งความสนใจจากหัวไหล่มาที่สะโพกของวัว
"พี่ก็แค่ไม่ต้องการจะกินสัตว์ที่มันมายืนให้เห็นอยู่ตรงหน้าแล้วเชื้อเชิญให้เราจับมันกิน" สมชายกล่าว "นี่มันโหดเหี้ยมทารุณเกินไป"
สมปองสวนขึ้นทันควันว่า "มันก็ยังดีกว่าที่เราจะกินสัตว์ตัวที่มันไม่อยากถูกกินละนะพี่!!!"
อ่านเรื่องนี้แล้วท่านรู้สึกอย่างไร? เวลาที่ท่านไปทานอาหารตามร้านอาหาร ท่านทานเนื้อวัวหรือไม่? ท่านทราบใช่ไหมว่าวัวตัวที่สละชีพเพื่อท่านนั้นมันคงไม่ได้เต็มใจสักเท่าไหร่นัก แต่ท่านก็ยังทานมัน [สำหรับคนที่ไม่ทานเนื้อวัวอยู่แล้ว กรุณาเปลี่ยนคำว่า 'วัว' ในย่อหน้านี้เป็นคำว่า 'หมู' หรือ 'ไก่'] นี่เท่ากับท่าน "บังคับขู่เข็ญ" (coercion) วัวตัวหนึ่งให้มันตายเพื่อที่ท่านจะได้กินมัน
คราวนี้ลองพิจารณาสถานการณ์ตรงกันข้าม หากท่านไม่จำเป็นต้องบังคับวัวตัวไหนเลย แต่มีวัวตัวหนึ่งเดินขึ้นมาหาท่านเองที่โต๊ะอาหารและเสนอตัวให้ท่านกินดังในเรื่องข้างบน ท่านจะกินมันลงไหม? ท่านจะคิดอย่างสมชายหรือสมปอง? หากท่านตัดสินใจที่จะกิน ท่านคงให้เหตุผลว่าท่านกำลังทำสิ่งที่วัวตัวนั้นเต็มใจทำ แต่ท่านก็รู้ใช่ไหมว่าการที่วัวจะยื่นข้อเสนอเช่นนั้นมันคงกำลังคิดผิดอย่างรุนแรง? จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ (อาจจะมีคนมอมยามัน หรือมันอาจจะเป็นบ้า หรือมันอาจจะโง่จัด หรือว่ามันอาจจะหลงเชื่อคำหลอกลวงของพ่อครัวว่าถ้ามันยอมตายเพื่อให้เรากินวิญญาณของมันจะได้ไปอยู่กับพระเจ้าวัว ฯลฯ) แต่การตัดสินใจของมันครั้งนี้ต้องจัดได้ว่าถูกตั้งอยู่บนพื้นฐานของการหลอกลวง (deception)
ปราชญ์ท่านหนึ่งในสาขาปรัชญาแห่งจริยธรรมนามว่า Maxim เคยกล่าวไว้ว่าการกระทำกับผู้อื่นโดยการบังคับขู่เข็ญหรือการหลอกลวงนั้น ล้วนเป็นสิ่งเลวร้ายทั้งสิ้น แต่ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าท่านเคยสอนไว้หรือไม่ว่า "การบังคับ" หรือ "การหลอกลวง" นี้ อันไหนจะเลวร้ายมากกว่ากัน?
พี่น้องคู่หนึ่ง นามว่าสมชายและสมปอง ไปรับประทานอาหารด้วยกัน ณ ร้านอาหารหรูแห่งหนึ่งในดินแดนแห่งเทพนิยาย ระหว่างที่ทั้งสองคนกำลังรอบริกรมารับออร์เดอร์อยู่นั้น ก็มีวัวตัวใหญ่ตัวหนึ่งเดินเข้ามา วัวตัวนั้นยิ้มน้อยๆ ที่มุมปาก และมองมาที่คนทั้งสอง
และแน่นอน เนื่องจากที่นี่เป็นดินแดนแห่งเทพนิยาย วัวตัวนี้จึงพูดได้
วัวเอ่ยขึ้นอย่างสุภาพว่า "สวัสดีครับท่านทั้งสอง กระผมคือรายการอาหารแนะนำแห่งค่ำคืนนี้ ท่านจะสนใจรับประทานส่วนใดของร่างกายกระผมไหมครับ?"
สมชายทำท่าตกใจ ในขณะที่สมปองน้ำลายไหลเนื่องจากความหิว และอีกอย่าง วัวตัวนี้ก็น่ากินมาก
"เนื้อบริเวณหัวไหล่ดีไหมครับ?" วัวเสนอ "นำไปนึ่งในซอสไวน์ขาวก็น่าจะดีนะครับ?"
"เอ่อ... หัวไหล่ของแกน่ะรึ?!?" สมชายกระซิบขึ้นเบาๆ ด้วยน้ำเสียงที่ค่อนข้างเสียขวัญเล็กน้อย
"ใช่ครับท่าน หัวไหล่ของผมสิครับ ผมไม่มีสิทธิเสนอหัวไหล่ของคนอื่น เอ๊ย ตัวอื่นนี่ครับ" วัวตอบด้วยน้ำเสียงแห่งความภาคภูมิใจ
สมปองเขยิบเก้าอี้เข้าไปใกล้ๆ วัว นำมือไปลูบหัวไหล่ของมันที่มีเนื้อหนานุ่มด้วยสีหน้าอันหิวกระหาย สมชายยังคงทำสีหน้าสับสน ราวกับไม่เชื่อหูของตัวเอง
"หรือจะเนื้อสะโพกก็อร่อยดีนะครับ" วัวกล่าว "ผมออกกำลังกายบริเวณนั้นสม่ำเสมอ และผมยังทานพืชพันธุ์ธัญญาหารมากมาย ดังนั้นจึงมีเนื้อชั้นดีเลยหละครับ" วัวมองคนทั้งสองด้วยสายตาอ้อนวอน
"เฮ๊ย ... นี่เจ้าวัวตัวนี้มันต้องการให้เรากินมันจริงๆ เหรอวะ?" สมชายเอ่ยขึ้น "โคตรสยดสยองอ่ะ! เกิดมาตูยังไม่เคยได้ยินอะไรที่มันน่าสะอิดสะเอียนถึงเพียงนี้"
"คิดอะไรมากน่า... พี่สมชาย ผมไม่เห็นว่ามันจะมีปัญหาอะไร" สมปองตอบ พร้อมกับเปลี่ยนตำแหน่งความสนใจจากหัวไหล่มาที่สะโพกของวัว
"พี่ก็แค่ไม่ต้องการจะกินสัตว์ที่มันมายืนให้เห็นอยู่ตรงหน้าแล้วเชื้อเชิญให้เราจับมันกิน" สมชายกล่าว "นี่มันโหดเหี้ยมทารุณเกินไป"
สมปองสวนขึ้นทันควันว่า "มันก็ยังดีกว่าที่เราจะกินสัตว์ตัวที่มันไม่อยากถูกกินละนะพี่!!!"
อ่านเรื่องนี้แล้วท่านรู้สึกอย่างไร? เวลาที่ท่านไปทานอาหารตามร้านอาหาร ท่านทานเนื้อวัวหรือไม่? ท่านทราบใช่ไหมว่าวัวตัวที่สละชีพเพื่อท่านนั้นมันคงไม่ได้เต็มใจสักเท่าไหร่นัก แต่ท่านก็ยังทานมัน [สำหรับคนที่ไม่ทานเนื้อวัวอยู่แล้ว กรุณาเปลี่ยนคำว่า 'วัว' ในย่อหน้านี้เป็นคำว่า 'หมู' หรือ 'ไก่'] นี่เท่ากับท่าน "บังคับขู่เข็ญ" (coercion) วัวตัวหนึ่งให้มันตายเพื่อที่ท่านจะได้กินมัน
คราวนี้ลองพิจารณาสถานการณ์ตรงกันข้าม หากท่านไม่จำเป็นต้องบังคับวัวตัวไหนเลย แต่มีวัวตัวหนึ่งเดินขึ้นมาหาท่านเองที่โต๊ะอาหารและเสนอตัวให้ท่านกินดังในเรื่องข้างบน ท่านจะกินมันลงไหม? ท่านจะคิดอย่างสมชายหรือสมปอง? หากท่านตัดสินใจที่จะกิน ท่านคงให้เหตุผลว่าท่านกำลังทำสิ่งที่วัวตัวนั้นเต็มใจทำ แต่ท่านก็รู้ใช่ไหมว่าการที่วัวจะยื่นข้อเสนอเช่นนั้นมันคงกำลังคิดผิดอย่างรุนแรง? จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ (อาจจะมีคนมอมยามัน หรือมันอาจจะเป็นบ้า หรือมันอาจจะโง่จัด หรือว่ามันอาจจะหลงเชื่อคำหลอกลวงของพ่อครัวว่าถ้ามันยอมตายเพื่อให้เรากินวิญญาณของมันจะได้ไปอยู่กับพระเจ้าวัว ฯลฯ) แต่การตัดสินใจของมันครั้งนี้ต้องจัดได้ว่าถูกตั้งอยู่บนพื้นฐานของการหลอกลวง (deception)
ปราชญ์ท่านหนึ่งในสาขาปรัชญาแห่งจริยธรรมนามว่า Maxim เคยกล่าวไว้ว่าการกระทำกับผู้อื่นโดยการบังคับขู่เข็ญหรือการหลอกลวงนั้น ล้วนเป็นสิ่งเลวร้ายทั้งสิ้น แต่ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าท่านเคยสอนไว้หรือไม่ว่า "การบังคับ" หรือ "การหลอกลวง" นี้ อันไหนจะเลวร้ายมากกว่ากัน?
- ระหว่างคนที่กินวัวที่โดนจับไปฆ่า กับคนที่กินวัวที่เสนอตัวให้กิน ใครเลวร้ายกว่ากัน?
- ระหว่างโจรที่ปล้นทรัพย์คนอื่นด้วยกำลัง กับนักต้มตุ๋นที่หลอกล่อให้เหยื่อทำสัญญาเสียเปรียบเพื่อหวังเอาเงินอย่างไม่เป็นธรรม ใครเลวร้ายกว่ากัน?
- ระหว่างไอ้หื่นกามที่ไปข่มขืนผู้หญิง กับชายเจ้าชู้ที่ไปหลอกผู้หญิงว่ารักเพื่อจะได้หลับนอนด้วย แล้วก็ทิ้งผู้หญิงไป ใครเลวร้ายกว่ากัน?
Wednesday, July 13, 2005 |
เคยไหมที่คุณสนิทสนมกับใครบางคนจนคนอื่นเข้าใจผิดว่าคุณเป็นแฟนกับเขา แต่ที่จริงแล้วคุณมั่นใจว่ามันไม่ใช่?
คุณอธิบายกับเพื่อนๆ ว่าอย่างไร?
ต่อไปนี้เป็นเหตุการณ์สมมติ นามสมมติ (คนละ namespace กับเรื่องก่อนหน้านี้)
สมศักดิ์: "ช่างแม่งสิ คนอื่นคิดอย่างไรก็ช่าง"
สมปอง: "ผมกับสมศรีสนิทกัน แต่ก็เป็นแค่เพื่อนกันจริงๆ ครับ ไม่ได้มีอะไรมากกว่าความเป็นเพื่อน ผมสาบานได้"
สมชาย: "ผมกับสมศรีเป็นเพื่อนกันครับ เราเป็นเพื่อนสนิทกันมาก และเราไม่ได้คิดอะไรต่อกันนอกจากความเป็นเพื่อน"
บทวิเคราะห์: คุณสมศักดิ์
อาจจะไม่ผิดนักที่คุณสมศักดิ์จะไม่คำนึงถึงสิ่งที่คนอื่นคิด แต่คุณสมศักดิ์ควรจะเข้าใจว่าการกระทำของเขาอาจจะมีผลที่ไม่พึงประสงค์บางประการ ได้แก่
บทวิเคราะห์: คุณสมปอง
คุณสมปองอยู่คนละขั้วกับคุณสมศักดิ์ สิ่งที่คุณสมปองพูดนั้นชัดเจนในตัวเองมาก น่าจะพอขจัดความสงสัยของสังคมได้เป็นอย่างดี
บทวิเคราะห์: คุณสมชาย
ข้อความของคุณสมชายอาจดูไม่รุนแรงชัดเจนเท่ากับคำพูดของคุณสมปอง อย่างไรก็ดี หากคุณสมชายพูดย้ำข้อความนี้บ่อยมากพอ สังคมก็คงพอที่จะเข้าใจอย่างถูกต้องได้
เปรียบเทียบ: คุณสมปอง vs คุณสมชาย
วิธีการของคุณสมปองเป็นวิธีการที่พบเห็นได้บ่อย ข้ออ้างที่ว่า "เป็นแค่เพื่อน" และ "ไม่ได้มีอะไรมากกว่าความเป็นเพื่อน" ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งในโลกจริง ทั้งที่วลีดังกล่าวมีความขัดแย้งในตัวเองอยู่ไม่น้อย กล่าวคือ...
คำว่า "แค่" และคำว่า "เพื่อน" นั้น จัดว่ามีความหมายที่เข้ากันไม่ได้อย่างรุนแรง คำว่าเพื่อนนั้นมีความหมายสูงมาก ยิ่งถ้า เพื่อนแท้ หรือ เพื่อนสนิท แล้ว คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าไม่น้อยเลย
คำว่า "แค่" มักถูกใช้ควบคู่กับสิ่งที่ไม่มีค่า หรือใช้ลดความสำคัญของคำที่ตามมาด้านหลัง เช่น "แค่ควายตัวหนึ่ง", "แค่เงินร้อยเดียว", "แค่ดอกไม้ริมทาง", "แค่เมมโมรี่สี่ไบต์" เป็นต้น
ดังนั้น การพูดว่า "เป็นแค่เพื่อนกัน" นั้น ในแง่หนึ่งจึงดูเป็นการไม่ให้เกียรติเพื่อนเท่าไรนัก ... แน่นอนว่า เพื่อนกันได้ยินอย่างนั้น ถ้าเป็นเพื่อนแท้ก็คงไม่โกรธหรือน้อยใจอะไร แต่หากเขาเป็นเพื่อนแท้ของเราแล้ว ไฉนเลยเราจึงควรลดเกียรติเขาโดยการใส่คำว่า "แค่" เข้าไปหน้าคำว่า "เพื่อน"?
วิธีพูดของคุณสมชายคงจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่า โปรดสังเกตว่ามันไม่มีคำว่า "แต่" ไม่มีคำว่า "แค่" และไม่มีการนำ "ความเป็นเพื่อน" มาเปรียบเทียบด้วยเครื่องหมาย "มากกว่า" หรือ "น้อยกว่า"
คุณสมชายให้เกียรติคุณค่าของความเป็นเพื่อน ในขณะเดียวกันก็สร้างความชัดเจนว่าความเป็นเพื่อนที่ว่านี้ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ในลักษณะอื่นใด
:: ความซวยของผู้ชาย ::
คุณอธิบายกับเพื่อนๆ ว่าอย่างไร?
ต่อไปนี้เป็นเหตุการณ์สมมติ นามสมมติ (คนละ namespace กับเรื่องก่อนหน้านี้)
สมศักดิ์: "ช่างแม่งสิ คนอื่นคิดอย่างไรก็ช่าง"
สมปอง: "ผมกับสมศรีสนิทกัน แต่ก็เป็นแค่เพื่อนกันจริงๆ ครับ ไม่ได้มีอะไรมากกว่าความเป็นเพื่อน ผมสาบานได้"
สมชาย: "ผมกับสมศรีเป็นเพื่อนกันครับ เราเป็นเพื่อนสนิทกันมาก และเราไม่ได้คิดอะไรต่อกันนอกจากความเป็นเพื่อน"
บทวิเคราะห์: คุณสมศักดิ์
อาจจะไม่ผิดนักที่คุณสมศักดิ์จะไม่คำนึงถึงสิ่งที่คนอื่นคิด แต่คุณสมศักดิ์ควรจะเข้าใจว่าการกระทำของเขาอาจจะมีผลที่ไม่พึงประสงค์บางประการ ได้แก่
- คนอื่นอาจเข้าใจว่าคุณสมศักดิ์เป็นแฟนกับคุณสมศรี ทำให้อาจไม่มีใครกล้าเข้ามาใกล้ชิดกับคนทั้งสองมากเกินไป
- ถ้าคุณสมศักดิ์หรือคุณสมศรีมีแฟนอยู่แล้ว แฟนอาจจะไม่พอใจนักที่ได้ยินข่าวลือเช่นนั้น
- คุณสมศรีเองก็อาจเข้าใจผิดไปว่าที่แท้คุณสมศักดิ์ก็อาจจะชอบเธออยู่เหมือนกัน กลายเป็นการให้ความหวังกันโดยไม่ตั้งใจ
บทวิเคราะห์: คุณสมปอง
คุณสมปองอยู่คนละขั้วกับคุณสมศักดิ์ สิ่งที่คุณสมปองพูดนั้นชัดเจนในตัวเองมาก น่าจะพอขจัดความสงสัยของสังคมได้เป็นอย่างดี
บทวิเคราะห์: คุณสมชาย
ข้อความของคุณสมชายอาจดูไม่รุนแรงชัดเจนเท่ากับคำพูดของคุณสมปอง อย่างไรก็ดี หากคุณสมชายพูดย้ำข้อความนี้บ่อยมากพอ สังคมก็คงพอที่จะเข้าใจอย่างถูกต้องได้
เปรียบเทียบ: คุณสมปอง vs คุณสมชาย
วิธีการของคุณสมปองเป็นวิธีการที่พบเห็นได้บ่อย ข้ออ้างที่ว่า "เป็นแค่เพื่อน" และ "ไม่ได้มีอะไรมากกว่าความเป็นเพื่อน" ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งในโลกจริง ทั้งที่วลีดังกล่าวมีความขัดแย้งในตัวเองอยู่ไม่น้อย กล่าวคือ...
คำว่า "แค่" และคำว่า "เพื่อน" นั้น จัดว่ามีความหมายที่เข้ากันไม่ได้อย่างรุนแรง คำว่าเพื่อนนั้นมีความหมายสูงมาก ยิ่งถ้า เพื่อนแท้ หรือ เพื่อนสนิท แล้ว คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าไม่น้อยเลย
คำว่า "แค่" มักถูกใช้ควบคู่กับสิ่งที่ไม่มีค่า หรือใช้ลดความสำคัญของคำที่ตามมาด้านหลัง เช่น "แค่ควายตัวหนึ่ง", "แค่เงินร้อยเดียว", "แค่ดอกไม้ริมทาง", "แค่เมมโมรี่สี่ไบต์" เป็นต้น
ดังนั้น การพูดว่า "เป็นแค่เพื่อนกัน" นั้น ในแง่หนึ่งจึงดูเป็นการไม่ให้เกียรติเพื่อนเท่าไรนัก ... แน่นอนว่า เพื่อนกันได้ยินอย่างนั้น ถ้าเป็นเพื่อนแท้ก็คงไม่โกรธหรือน้อยใจอะไร แต่หากเขาเป็นเพื่อนแท้ของเราแล้ว ไฉนเลยเราจึงควรลดเกียรติเขาโดยการใส่คำว่า "แค่" เข้าไปหน้าคำว่า "เพื่อน"?
วิธีพูดของคุณสมชายคงจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่า โปรดสังเกตว่ามันไม่มีคำว่า "แต่" ไม่มีคำว่า "แค่" และไม่มีการนำ "ความเป็นเพื่อน" มาเปรียบเทียบด้วยเครื่องหมาย "มากกว่า" หรือ "น้อยกว่า"
คุณสมชายให้เกียรติคุณค่าของความเป็นเพื่อน ในขณะเดียวกันก็สร้างความชัดเจนว่าความเป็นเพื่อนที่ว่านี้ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ในลักษณะอื่นใด
ลอกมาจาก: เด็กดี ดอทคอม
- มีแฟนหลายคน - เจ้าชู้
มีแฟนคนเดียว - กลัวแฟนล่ะซิ
ไม่มีแฟน - เกย์ - เห็นผู้หญิงแล้วเดินเข้าไปจีบ - หน้าหม้อ
เห็นผู้หญิงแล้วมองตาม - มัวแต่มองจะได้กินมั้ย
เห็นผู้หญิงแล้วเฉยๆ - เกย์ควีน - มีแฟนแก่กว่า - กะเกาะเค้ากินล่ะสิ
มีแฟนอ่อนกว่า - หลอกเด็ก
มีแฟนอายุเท่ากัน - แม้แต่เพื่อนยังไม่เว้นเลยคิดดูๆ - มีแฟนแล้ว ตกเย็นไปกินข้าวกับแฟน - มันเห็นแฟนดีกว่าเพื่อน
มีแฟนแล้ว ตกเย็นไปกินข้าวกับเพื่อน - มันเห็นเพื่อนดีกว่าแฟน
มีแฟนแล้ว ตกเย็นกลับบ้านคนเดียว - มีชู้ - ชอบนัดเจอกับเพื่อนสนิทผู้หญิง - คิดนอกใจ
ชอบนัดเจอกับเพื่อนสนิทผู้ชาย - เกย์
ชอบนัดเจอกับเพื่อนสนิทชายหญิง - ... หมู่!! - ขอจูงมือแฟนตอนกลางวัน - ไม่เอานะอายเค้า
ขอจูงมือแฟนตอนเย็นๆ - ยังไม่ค่อยมืดเลยนะคะ ไว้ก่อนนะ
ขอจูงมือแฟนตอนกลางคืน - เดี๋ยวมันต้องไปมีอะไรกันแน่ๆ - เดินนำแฟนเข้าห้าง - รู้จัก Lady first มั้ย??
เดินเข้าห้างให้แฟนเดินเข้าก่อน - มันปล่อยให้แฟนมันเปิดประตูให้
เดินเข้าห้างเปิดประตูแล้วให้แฟนเดินเข้าไปก่อน - โคตรเว่อร์เลยว่ะ - เป็นหัวหน้าครอบครัว - เผด็จการ
มีอะไรต้องปรึกษาแฟน - ไม่กล้าตัดสินใจ
ให้แฟนเป็นหัวหน้าครอบครัว - กลัวเมีย - แฟนไม่สวย - หาได้แค่เนี้ยเรอะ
แฟนหน้าธรรมดาๆ - ก็งั้นๆ แหละว้า
แฟนสวย - ไม่สมกันเล้ยย - ผู้ชายนิสัยธรรมดา - น่าเบื่อ
ผู้ชายนิสัยเลว - เลวว่ะ
ผู้ชายนิสัยดี - เธอดีเกินไป!!!
Tuesday, July 12, 2005 |
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
http://www.dailynews.co.th/col/col.asp?columnid=11480
เมื่อไม่นานมานี้ พลเอกเปรมได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับหลักจริยธรรมในการบริหารบ้านเมืองไว้อย่างน่าคิดยิ่ง หนึ่งในเรื่องที่ท่านพูดก็คือท่านได้เปรียบเทียบระหว่าง จริยธรรมตามหลักนิติรัฐ กับ จริยธรรมตามมาตรฐานจริยธรรม ว่าสองสิ่งนี้มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันอย่างไร และทำไมเราจึงต้องการหลักการทั้งสองอย่างนี้ไปพร้อมๆ กัน จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
ผมแนะนำให้ผู้สนใจไปอ่านบทความต้นฉบับตาม link ข้างบน เป็นบทความที่สั้นและได้ใจความ
ท่อนหนึ่งของคำพูดที่ผมประทับใจก็คือว่า...
"จริยธรรมตามหลักนิติรัฐยังมีจุดอ่อน กล่าวคือ ผู้มีอำนาจอาจจะละเว้นไม่ออกกฎหมายเพื่อลิดรอนสิทธิของกลุ่มตนเองก็ได้ สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อน เช่น นักการเมืองไม่จดทะเบียนกับคู่สมรส เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายที่ระบุว่าคู่สมรส (สามี/ภรรยา) ของนักการเมืองต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณะ นักการเมืองหรือข้าราชการระดับสูงสั่งการด้วยวาจาให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติในเรื่องที่ไม่ถูกต้อง โดยตนเองไม่ต้องมีความรับผิดชอบ การกำหนดตำแหน่งทางการเมืองที่มีอยู่นอกกรอบกฎหมาย เช่น ตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีตำแหน่งนี้มิใช่ตำแหน่งทางการเมืองตามกฎหมาย ผู้ดำรงตำแหน่งจึงไม่ต้องเปิดเผยทรัพย์สินต่อสาธารณะ"
:: กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี ::
http://www.dailynews.co.th/col/col.asp?columnid=11480
เมื่อไม่นานมานี้ พลเอกเปรมได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับหลักจริยธรรมในการบริหารบ้านเมืองไว้อย่างน่าคิดยิ่ง หนึ่งในเรื่องที่ท่านพูดก็คือท่านได้เปรียบเทียบระหว่าง จริยธรรมตามหลักนิติรัฐ กับ จริยธรรมตามมาตรฐานจริยธรรม ว่าสองสิ่งนี้มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันอย่างไร และทำไมเราจึงต้องการหลักการทั้งสองอย่างนี้ไปพร้อมๆ กัน จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
ผมแนะนำให้ผู้สนใจไปอ่านบทความต้นฉบับตาม link ข้างบน เป็นบทความที่สั้นและได้ใจความ
ท่อนหนึ่งของคำพูดที่ผมประทับใจก็คือว่า...
"จริยธรรมตามหลักนิติรัฐยังมีจุดอ่อน กล่าวคือ ผู้มีอำนาจอาจจะละเว้นไม่ออกกฎหมายเพื่อลิดรอนสิทธิของกลุ่มตนเองก็ได้ สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อน เช่น นักการเมืองไม่จดทะเบียนกับคู่สมรส เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายที่ระบุว่าคู่สมรส (สามี/ภรรยา) ของนักการเมืองต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณะ นักการเมืองหรือข้าราชการระดับสูงสั่งการด้วยวาจาให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติในเรื่องที่ไม่ถูกต้อง โดยตนเองไม่ต้องมีความรับผิดชอบ การกำหนดตำแหน่งทางการเมืองที่มีอยู่นอกกรอบกฎหมาย เช่น ตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีตำแหน่งนี้มิใช่ตำแหน่งทางการเมืองตามกฎหมาย ผู้ดำรงตำแหน่งจึงไม่ต้องเปิดเผยทรัพย์สินต่อสาธารณะ"
ศีลข้อสามดูเหมือนจะเป็นศีลข้อที่รักษาได้ง่ายที่สุดในบรรดาศีลทั้งห้าข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เรายังไม่มีความรัก
ศีลข้อนี้มีคำแปลเป็นภาษาไทย หลายเวอร์ชั่นส์
คำแปลที่ดูจะแคบสักหน่อยก็ได้แก่....
- อย่าผิดลูกผิดเมีย/ผิดสามีคนอื่น
- อย่ามีชู้ และอย่าเป็นชู้
ซึ่งถ้าถือตามคำแปลดังกล่าวแล้ว ก็ต้องนับว่าศีลข้อนี้รักษาไม่ยากเลย การที่เราจะ "ผิดลูกผิดเมีย" หรือ "มีชู้" หรือ "เป็นชู้" นั้น แสดงว่าเราหรืออีกฝ่ายหนึ่งจะต้องมีคู่เป็นตัวเป็นตน มีการแต่งงานกัน หรือเป็นที่ชัดเจนว่าได้อยู่กินกันฉันสามีภรรยาแล้ว
การแย่งแฟนคนอื่น จึงไม่ถือว่าผิดศีลข้อสามอย่างแน่นอน! (ถ้าตีความศีลข้อสามแบบนั้น)
แต่ศีลข้อสาม บางครั้งก็ถูกแปลไว้อย่างกว้าง ว่า...
- อย่าพรากผู้อื่นจากคนที่เขารัก
- อย่าพรากผู้อื่นจากสิ่งที่เขารัก
ถ้าตีความแบบนี้ ต้องนับว่าการแย่งแฟนคนอื่นนั้นเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรม อย่าว่าแต่เรื่องแย่งแฟนเลย ... การไปแย่งทรัพย์สิน/แย่งลูกค้าจากคนอื่นโดยใช้กลวิธีแยบยลทางกฏหมายหรือทางการตลาด ก็นับว่าผิดศีลข้อสามได้เหมือนกัน
กระนั้น เหตุใดสังคมโลกในปัจจุบันจึงได้มีเหตุการณ์ที่คนหนึ่งไปแย่งแฟนอีกคนหนึ่งอยู่ตลอดเวลา? โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ไปแย่งแฟนคนอื่นนั้นก็รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นอาจจะ "ผิดศีลธรรม" .... แต่ก็ยังทำไปโดยที่ไม่ได้รู้สึกผิดอะไรมากนักอยู่ดี (หรือบางครั้งก็รู้สึกผิด แต่ยังไม่ผิดมากพอที่จะทำให้หยุดทำ)
บางครั้งการตีความศีลข้อสามอย่างกว้าง อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนปัจจุบันยอมรับกันมากนักอีกต่อไป...
แน่นอนว่าคนเราไม่มีใครต้องการรู้สึกผิดในสิ่งที่ตัวเองจะกระทำ จึงต้องหาเหตุผลมาสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของตนเองอยู่เสมอ ในสายตาของผู้ที่ไปแย่งแฟนคนอื่นนั้น 'เหตุผลแห่งความชอบธรรม' ดังกล่าว ไม่ได้หายากนัก
ลองพิจารณาสถานการณ์นี้... (เรื่องสมมติ นามสมมติ)
สมศักดิ์พบกับสมศรี สมศรีเป็นคนที่สวยและน่ารักสมศักดิ์จึงต้องการเข้าไปใกล้ชิด สมศักดิ์เป็นคนอารมณ์ดี ร่าเริงแจ่มใส ซึ่งเป็นนิสัยที่สมศรีชอบอยู่แล้ว เมื่อสมศักดิ์เข้าไปทำดีด้วยสมศรีก็อดไม่ได้ที่จะทำดีตอบ สมศักดิ์รู้อยู่ว่าสมศรีมีแฟนอยู่แล้ว แต่แฟนสมศรีไม่ได้อยู่ที่นี่ และสมศรีเองก็ดูไม่ได้มีท่าทีรังเกียจการเข้าไปใกล้ชิดของสมศักดิ์ แถมสมศรียังดูจะมีความสุขและตอบรับการกระทำของสมศักดิ์อย่างดีอีกด้วยซ้ำไป สมศักดิ์ก็รู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองมีโอกาสที่จะจีบสมศรีได้สำเร็จ เลยยิ่งทำดีกับสมศรีและเข้าไปใกล้ชิดสมศรีมากขึ้นกว่าเดิมเรื่อยๆ และสมศรีก็ดูจะมีความสุขกับสมศักดิ์มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน
สมชาย ซึ่งเป็นแฟนของสมศรี ไม่ได้รับรู้เรื่องพวกนี้เลย ยังคงยึดมั่นซื่อสัตย์ต่อสมศรีมาโดยตลอด และก็ยังคิดว่าสมศรียังคงซื่อสัตย์ต่อสมชายมาโดยตลอดเช่นเดียวกัน
ถามว่า เรื่องนี้ ใครทำถูก ใครทำผิด?
สำหรับฝ่ายสมชายและสมศรีนั้นจะไม่ขอกล่าวถึง แต่สำหรับฝ่ายสมศักดิ์นั้น เป็นเรื่องที่น่าพิจารณา...
ถ้าคุณจะทำตัวเป็นนักกฏหมาย และถือเอาศีลห้าเป็นกฏหมาย ก็คงตอบได้โดยไม่ลังเลว่า ผิด เพราะสมศักดิ์ได้พรากสมศรีซึ่งเป็นคนรักของสมชายไปจากสมชาย
แต่ถ้าคุณจะยึดหลักสามัญสำนึก คุณ "อาจจะ" เห็นด้วยกับคำแก้ต่างของสมศักดิ์ดังต่อไปนี้....
"ใช่ครับ ผมทราบว่าสมศรีมีแฟนอยู่แล้ว และผมก็กำลังไปแย่งคุณสมศรีมาจากคุณสมชาย ถ้าคุณสมชายเป็นเพื่อนของผมผมก็คงจะไม่ทำอย่างนั้น แต่นี่คุณสมชายเป็นใครผมก็ไม่รู้จักนี่ครับ ความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างสมชายกับสมศรีจะลึกซึ้งเพียงไรผมเองก็ไม่รู้ ผมรู้แต่ว่าเค้าเรียกตัวเองว่าเป็น 'แฟน' กัน ... มาตรฐานของคำว่าแฟนมันมีหลายมาตรฐานครับ ตั้งแต่คนที่รักกันมากปานจะกลืนกิน ไปจนถึงคนที่คบๆ กันเพียงเพื่อหาความสุขจากความใกล้ชิดไปวันๆ ผมเองก็ไม่รู้ว่ามาตรฐานที่คุณสมชายและสมศรีใช้นั้นมันเป็นมาตรฐานไหน เค้าไม่เคยบอกผมนี่ครับ
ดังนั้น ผมจะผิดนักหรือที่ผมจะสันนิษฐานจากท่าทีที่สมศรีมีให้กับผมว่าคุณสมชายก็คงจะไม่ได้ใกล้ชิดกับคุณสมศรีมากนัก และคุณสมศรีก็คงไม่ได้รับความรักจากคุณสมชายมากเพียงพอ ไม่อย่างนั้นเธอจะมารับความรัก เอ้อ... การแสดงออกซึ่งความรักจากผมไปหรือ?
ผมจะผิดมากนักหรือถ้าผมจะคิดไปว่าตัวผมเองอาจจะดีไม่แพ้คุณสมชาย และเนื่องจากความใกล้ชิดระหว่างผมกับสมศรี ผมอาจจะเป็นคนที่เหมาะกับสมศรีมากกว่าสมชายก็เป็นได้ ถ้าผมไม่ให้โอกาสตัวเองและให้โอกาสคุณสมศรีที่จะทดลองพิสูจน์สมมติฐานในข้อนี้ นั่นมิเท่ากับว่าผมทำผิดต่อคุณสมศรีที่ผมรักยิ่งหรอกหรือ?
ดังนั้นในตอนนี้ที่ผมพอจะทำให้คุณสมศรีมีความสุขได้ ผมก็คิดว่าผมควรจะกระทำต่อไป ตราบใดที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าสิ่งที่ผมทำนั้นมันเป็นสิ่งที่เลวร้ายกับคุณสมศรี ผมก็จะยังทำต่อไป แม้ใครจะว่าผมเลวผมก็ยอม
ผมรักคุณสมศรีนี่ครับ ... ผมต้องการให้คุณสมศรีมีความสุข ผมไม่ได้ต้องการให้ใครมองว่าผมเป็นคนดีหรือไม่ดี ผมไม่แคร์ คุณสมศรีเท่านั้นที่ผมแคร์"
นี่เป็นเพียงเหตุการณ์(สมมติ)หนึ่ง ซึ่งผู้ที่กำลังแย่งแฟนชาวบ้านอยู่นั้นมีเหตุผลแห่งความชอบธรรมอยู่ไม่น้อยเลย ใครจะรู้เล่าว่าจะมีเหตุการณ์จริงอีกกี่ร้อยกี่พันเหตุการณ์ ที่อาจจะคล้ายกับเหตุการณ์สมมตินี้?
ศีลข้อนี้มีคำแปลเป็นภาษาไทย หลายเวอร์ชั่นส์
คำแปลที่ดูจะแคบสักหน่อยก็ได้แก่....
- อย่าผิดลูกผิดเมีย/ผิดสามีคนอื่น
- อย่ามีชู้ และอย่าเป็นชู้
ซึ่งถ้าถือตามคำแปลดังกล่าวแล้ว ก็ต้องนับว่าศีลข้อนี้รักษาไม่ยากเลย การที่เราจะ "ผิดลูกผิดเมีย" หรือ "มีชู้" หรือ "เป็นชู้" นั้น แสดงว่าเราหรืออีกฝ่ายหนึ่งจะต้องมีคู่เป็นตัวเป็นตน มีการแต่งงานกัน หรือเป็นที่ชัดเจนว่าได้อยู่กินกันฉันสามีภรรยาแล้ว
การแย่งแฟนคนอื่น จึงไม่ถือว่าผิดศีลข้อสามอย่างแน่นอน! (ถ้าตีความศีลข้อสามแบบนั้น)
แต่ศีลข้อสาม บางครั้งก็ถูกแปลไว้อย่างกว้าง ว่า...
- อย่าพรากผู้อื่นจากคนที่เขารัก
- อย่าพรากผู้อื่นจากสิ่งที่เขารัก
ถ้าตีความแบบนี้ ต้องนับว่าการแย่งแฟนคนอื่นนั้นเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรม อย่าว่าแต่เรื่องแย่งแฟนเลย ... การไปแย่งทรัพย์สิน/แย่งลูกค้าจากคนอื่นโดยใช้กลวิธีแยบยลทางกฏหมายหรือทางการตลาด ก็นับว่าผิดศีลข้อสามได้เหมือนกัน
กระนั้น เหตุใดสังคมโลกในปัจจุบันจึงได้มีเหตุการณ์ที่คนหนึ่งไปแย่งแฟนอีกคนหนึ่งอยู่ตลอดเวลา? โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ไปแย่งแฟนคนอื่นนั้นก็รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นอาจจะ "ผิดศีลธรรม" .... แต่ก็ยังทำไปโดยที่ไม่ได้รู้สึกผิดอะไรมากนักอยู่ดี (หรือบางครั้งก็รู้สึกผิด แต่ยังไม่ผิดมากพอที่จะทำให้หยุดทำ)
บางครั้งการตีความศีลข้อสามอย่างกว้าง อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนปัจจุบันยอมรับกันมากนักอีกต่อไป...
แน่นอนว่าคนเราไม่มีใครต้องการรู้สึกผิดในสิ่งที่ตัวเองจะกระทำ จึงต้องหาเหตุผลมาสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของตนเองอยู่เสมอ ในสายตาของผู้ที่ไปแย่งแฟนคนอื่นนั้น 'เหตุผลแห่งความชอบธรรม' ดังกล่าว ไม่ได้หายากนัก
ลองพิจารณาสถานการณ์นี้... (เรื่องสมมติ นามสมมติ)
สมศักดิ์พบกับสมศรี สมศรีเป็นคนที่สวยและน่ารักสมศักดิ์จึงต้องการเข้าไปใกล้ชิด สมศักดิ์เป็นคนอารมณ์ดี ร่าเริงแจ่มใส ซึ่งเป็นนิสัยที่สมศรีชอบอยู่แล้ว เมื่อสมศักดิ์เข้าไปทำดีด้วยสมศรีก็อดไม่ได้ที่จะทำดีตอบ สมศักดิ์รู้อยู่ว่าสมศรีมีแฟนอยู่แล้ว แต่แฟนสมศรีไม่ได้อยู่ที่นี่ และสมศรีเองก็ดูไม่ได้มีท่าทีรังเกียจการเข้าไปใกล้ชิดของสมศักดิ์ แถมสมศรียังดูจะมีความสุขและตอบรับการกระทำของสมศักดิ์อย่างดีอีกด้วยซ้ำไป สมศักดิ์ก็รู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองมีโอกาสที่จะจีบสมศรีได้สำเร็จ เลยยิ่งทำดีกับสมศรีและเข้าไปใกล้ชิดสมศรีมากขึ้นกว่าเดิมเรื่อยๆ และสมศรีก็ดูจะมีความสุขกับสมศักดิ์มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน
สมชาย ซึ่งเป็นแฟนของสมศรี ไม่ได้รับรู้เรื่องพวกนี้เลย ยังคงยึดมั่นซื่อสัตย์ต่อสมศรีมาโดยตลอด และก็ยังคิดว่าสมศรียังคงซื่อสัตย์ต่อสมชายมาโดยตลอดเช่นเดียวกัน
ถามว่า เรื่องนี้ ใครทำถูก ใครทำผิด?
สำหรับฝ่ายสมชายและสมศรีนั้นจะไม่ขอกล่าวถึง แต่สำหรับฝ่ายสมศักดิ์นั้น เป็นเรื่องที่น่าพิจารณา...
ถ้าคุณจะทำตัวเป็นนักกฏหมาย และถือเอาศีลห้าเป็นกฏหมาย ก็คงตอบได้โดยไม่ลังเลว่า ผิด เพราะสมศักดิ์ได้พรากสมศรีซึ่งเป็นคนรักของสมชายไปจากสมชาย
แต่ถ้าคุณจะยึดหลักสามัญสำนึก คุณ "อาจจะ" เห็นด้วยกับคำแก้ต่างของสมศักดิ์ดังต่อไปนี้....
"ใช่ครับ ผมทราบว่าสมศรีมีแฟนอยู่แล้ว และผมก็กำลังไปแย่งคุณสมศรีมาจากคุณสมชาย ถ้าคุณสมชายเป็นเพื่อนของผมผมก็คงจะไม่ทำอย่างนั้น แต่นี่คุณสมชายเป็นใครผมก็ไม่รู้จักนี่ครับ ความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างสมชายกับสมศรีจะลึกซึ้งเพียงไรผมเองก็ไม่รู้ ผมรู้แต่ว่าเค้าเรียกตัวเองว่าเป็น 'แฟน' กัน ... มาตรฐานของคำว่าแฟนมันมีหลายมาตรฐานครับ ตั้งแต่คนที่รักกันมากปานจะกลืนกิน ไปจนถึงคนที่คบๆ กันเพียงเพื่อหาความสุขจากความใกล้ชิดไปวันๆ ผมเองก็ไม่รู้ว่ามาตรฐานที่คุณสมชายและสมศรีใช้นั้นมันเป็นมาตรฐานไหน เค้าไม่เคยบอกผมนี่ครับ
ดังนั้น ผมจะผิดนักหรือที่ผมจะสันนิษฐานจากท่าทีที่สมศรีมีให้กับผมว่าคุณสมชายก็คงจะไม่ได้ใกล้ชิดกับคุณสมศรีมากนัก และคุณสมศรีก็คงไม่ได้รับความรักจากคุณสมชายมากเพียงพอ ไม่อย่างนั้นเธอจะมารับความรัก เอ้อ... การแสดงออกซึ่งความรักจากผมไปหรือ?
ผมจะผิดมากนักหรือถ้าผมจะคิดไปว่าตัวผมเองอาจจะดีไม่แพ้คุณสมชาย และเนื่องจากความใกล้ชิดระหว่างผมกับสมศรี ผมอาจจะเป็นคนที่เหมาะกับสมศรีมากกว่าสมชายก็เป็นได้ ถ้าผมไม่ให้โอกาสตัวเองและให้โอกาสคุณสมศรีที่จะทดลองพิสูจน์สมมติฐานในข้อนี้ นั่นมิเท่ากับว่าผมทำผิดต่อคุณสมศรีที่ผมรักยิ่งหรอกหรือ?
ดังนั้นในตอนนี้ที่ผมพอจะทำให้คุณสมศรีมีความสุขได้ ผมก็คิดว่าผมควรจะกระทำต่อไป ตราบใดที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าสิ่งที่ผมทำนั้นมันเป็นสิ่งที่เลวร้ายกับคุณสมศรี ผมก็จะยังทำต่อไป แม้ใครจะว่าผมเลวผมก็ยอม
ผมรักคุณสมศรีนี่ครับ ... ผมต้องการให้คุณสมศรีมีความสุข ผมไม่ได้ต้องการให้ใครมองว่าผมเป็นคนดีหรือไม่ดี ผมไม่แคร์ คุณสมศรีเท่านั้นที่ผมแคร์"
นี่เป็นเพียงเหตุการณ์(สมมติ)หนึ่ง ซึ่งผู้ที่กำลังแย่งแฟนชาวบ้านอยู่นั้นมีเหตุผลแห่งความชอบธรรมอยู่ไม่น้อยเลย ใครจะรู้เล่าว่าจะมีเหตุการณ์จริงอีกกี่ร้อยกี่พันเหตุการณ์ ที่อาจจะคล้ายกับเหตุการณ์สมมตินี้?
Friday, July 08, 2005 |
ท่านว่าอย่า ไว้ใจทาง วางใจคน
น่าสับสน ยิ่งนัก ชักสงสัย
ให้ไม่เชื่อ เส้นทาง ช่างปะไร
แต่ไม่ให้ เชื่อคน จนปัญญา!!
ก็ตัวท่าน ที่บอก ไม่ให้เชื่อ
ไม่ใช่เสือ ไม่แมว ไม่ใช่หมา
แต่เป็นคน เป็นมนุษย์ ธรรมดา
แล้วเราหนา จะเชื่อท่าน ได้งั้นรือ?
ถ้าจะเชื่อ ก็จะกลาย เป็นอันว่า
เชื่อว่าอย่า ไว้ใจ อย่ายึดถือ
อย่าเชื่อคำ ที่ท่านสอน ให้ฝึกปรือ
นั่นก็คือ อย่าไว้ใจ ท่านเสียเอง
แต่ถ้าเรา ไม่ไว้ใจ ในคำท่าน
ก็แล้วกัน! อย่างนี้มัน ก็ตรงเผง
กับถ้อยคำ ที่ท่านสอน อย่างเจ๋งเป้ง
จึงนั่งเซ็ง จะไว้ใจ หรือไม่ดี?!
น่าสับสน ยิ่งนัก ชักสงสัย
ให้ไม่เชื่อ เส้นทาง ช่างปะไร
แต่ไม่ให้ เชื่อคน จนปัญญา!!
ก็ตัวท่าน ที่บอก ไม่ให้เชื่อ
ไม่ใช่เสือ ไม่แมว ไม่ใช่หมา
แต่เป็นคน เป็นมนุษย์ ธรรมดา
แล้วเราหนา จะเชื่อท่าน ได้งั้นรือ?
ถ้าจะเชื่อ ก็จะกลาย เป็นอันว่า
เชื่อว่าอย่า ไว้ใจ อย่ายึดถือ
อย่าเชื่อคำ ที่ท่านสอน ให้ฝึกปรือ
นั่นก็คือ อย่าไว้ใจ ท่านเสียเอง
แต่ถ้าเรา ไม่ไว้ใจ ในคำท่าน
ก็แล้วกัน! อย่างนี้มัน ก็ตรงเผง
กับถ้อยคำ ที่ท่านสอน อย่างเจ๋งเป้ง
จึงนั่งเซ็ง จะไว้ใจ หรือไม่ดี?!
Wednesday, July 06, 2005 |
เรื่องสั้นแปดประโยคข้างล่างนี้ ท่านอ่านแล้วนึกถึงอะไร?
- ต้นมองเห็นหญิงสาวคนหนึ่งเดินผ่านหน้าบ้านในวันที่ฝนตก เธอไม่มีร่ม
- ต้นคิดว่าเธอน่ารักดี เขานึกชอบเธอขึ้นมาแล้ว
- ต้นเข้าไปเจรจากับเธอ ถามชื่อก็พบว่าเธอชื่อปุ้ม บ้านของเธออยู่ลึกเข้าไปในซอย
- ต้นทำตัวเป็นสุภาพบุรุษ ให้เธอยืมร่ม แล้วเดินไปเป็นเพื่อนกับเธอ เขาช่วยเธอถือของด้วย
- ต้นกลับบ้านมาก็รีบสะสางงานเอกสารกองโต จากนี้ไปเขาต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อหาเงินมาจีบปุ้ม
- ต้นพยายามไปหาปุ้มที่บ้านทุกวัน แต่ดูเหมือนเขาจะเจออุปสรรคก้อนโต เธอมีสามีแล้ว!
- ต้นระลึกถึงคำสอนของพ่อว่า "จะจีบใครก็จีบนะลูก แต่อย่าไปแย่งเมียชาวบ้าน"
- กระนั้นต้นก็ยังไม่ลดละ เขายังมีจิตใจตั้งมั่นที่จะจีบปุ้มให้สำเร็จ แม้จะเสี่ยงกับการตกนรกก็ตาม
Sunday, July 03, 2005 |
เคยอ่านตำราพระพุทธศาสนาฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษไหมครับ?
ผมไม่เคยคิดจะอ่านเลย รู้สึกว่าตำราพระพุทธศาสนาที่เป็นภาษาไทยมีอยู่เยอะแยะเต็มไปหมด แถมเราก็เป็นคนไทย อ่านภาษาไทยสะดวกกว่า ดังนั้น อ่านตำราไทยคงจะดีกว่า
หรือถ้ารู้สึกว่าอ่านภาษาไทยมันไม่เท่ อยากเท่ก็ไปเรียนภาษาบาลี แล้วไปอ่านฉบับภาษาบาลีซะเลยสิครับ เท่กว่ากันเยอะ
จะไป(กระแดะ)อ่านภาษาอังกฤษทำไม?
เมื่อวานนี้ผมเพิ่งรู้เองว่าทำไม...
ผมและเพื่อนๆ หลบร้อนกันอยู่ที่ร้านขายหนังสือ Barnes & Noble ในร้านก็มีหนังสือมากมายทุกรูปแบบ ผมเดินๆ ไปมา ก็ไปสะดุดตากับหนังสือเล่มนึง ชื่อว่า "The Complete Idiot's Guide to Buddhism"
อยากรู้เหลือเกินว่าฝรั่งเขาเข้าใจพุทธศาสนาอย่างไร เข้าใจอย่างที่เราเข้าใจหรือเปล่า? หลักธรรมต่างๆ เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว จะมีใจความเหมือนกับตำราแบบเรียนพระพุทธศาสนาของเมืองไทยหรือเปล่า?
หลังจากที่ลองเปิดๆ ผ่านๆ ดูไปทั้งเล่ม ก็ต้องบอกว่า เหมือนมากๆ เลยทีเดียวหละ! โดยเฉพาะในส่วนของเนื้อหาสาระและหลักธรรมคำสอน แต่ความเหมือนนี้ ก็เป็นความเหมือนที่แตกต่างซะด้วยนะ!
ที่แตกต่างนั้นไม่ใช่เนื้อหา แต่เป็นความรู้สึกเมื่อได้อ่าน
- ตำราไทยอ่านแล้วรู้สึกขลังกว่า
- ตำราอังกฤษอ่านแล้วรู้สึกเข้าใจง่ายกว่า!
ที่เข้าใจง่ายกว่าก็เพราะว่าเขาตัดความขลังออกไป ที่ว่า "ขลัง" คืออะไรล่ะ? คำตอบก็คือ "ศัพท์เทคนิค" อย่างไรล่ะครับที่ทำให้ขลัง เคยไหม? เวลาใดที่เราอ่านตำราไทยแล้วเห็นศัพท์ภาษาบาลี/สันสกฤต เราจะรู้สึกว่ามันขลังขึ้นมาโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าส่วนไหนของตำราอธิบายด้วยภาษาไทยล้วนๆ มันมักจะไม่ค่อยขลังสักเท่าไหร่
ความขลังนี้มีประโยชน์ ประโยชน์แง่นึงก็คือความขลังเป็นตัวสร้างศรัทธา พอมีศรัทธาก็จะมีกำลังใจอ่านต่อ รู้สึกว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องที่สูงส่ง จึงอยากเรียนรู้ อยากจะจำไปสอนคนอื่นได้
แต่ความขลังก็เป็นดาบสองคม เพราะเวลาเรารู้สึกว่าประโยคไหนขลัง เราจะเชื่อตามนั้นเลยโดยอัตโนมัติ (ยิ่งถ้าได้ยินว่านี่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าแล้วละก็ แทบจะเชื่อได้โดยไม่ต้องคิดสงสัยเลย) การเชื่อโดยฉับพลันเช่นนี้ทำให้เราเสียโอกาสที่จะคิดตาม เสียโอกาสที่จะคิดวิเคราะห์แต่ละข้อความตามความหมายของมัน แล้วตัดสินใจเอาด้วยตัวเองว่าจะเห็นพ้องด้วยหรือไม่
ตำราภาษาอังกฤษที่ผมอ่านนั้น ใช้ศัพท์เทคนิคน้อยมาก คำส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษพื้นๆ ที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ทำให้อ่านง่าย เหมือนฟังเพื่อนฝูงพูดคุยกัน พอเราฟังแล้วเราก็ได้คิดตาม และก็ได้เห็นตามจริงด้วยตัวเองว่า เอ้อ! มันจริงนะ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง เพราะอย่างนี้นี่เอง และพอเราเข้าใจมันแล้วเราจะรู้สึกประทับใจในความเข้าใจนั้นได้มากกว่า เพราะมันเหมือนกับว่าอยู่ใกล้ตัวกับเรา ไม่ได้ไกลห่างออกไปเสมือนเครื่องรางของขลัง ที่มีไว้บูชามากกว่ามีไว้เพื่อนำมาใช้งานประจำวัน
ธรรมะนั้นควรมีไว้เพื่อใช้งานประจำวัน
วันนี้ขอยกเรื่องที่อ่านมาอธิบายให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่ท่านผู้อ่านคงรู้จักดีอยู่แล้ว ผมเองก็รู้จักดีมาแต่ไหนแต่ไร แต่ลองมาดูวิธีอธิบายแบบนี้สักหน่อยจะเป็นไร?
[หมายเหตุ: สาเหตุของการยกตัวอย่างนี้ก็เพื่อเป็นการเล่าประสบการณ์จากการอ่านหนังสือเล่มดังกล่าวให้ฟัง ไม่ได้ต้องการจะเปรียบเทียบว่าหนังสือเล่มนั้นเขียนได้ดีกว่าหรือแย่กว่าหนังสือเล่มอื่นที่เป็นภาษาไทยแต่อย่างใด]
อริยสัจ 4
อริยสัจ 4 คืออะไร?
คุณครูที่ขี้เกียจๆ ก็จะตอบสั้นๆ ว่า อ้อ มันคือความจริงสี่ประการ ประกอบด้วย ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ และมรรค
คุณครูที่ขยันขึ้นมาหน่อย ก็จะแปลให้ฟังว่า อริยสัจ 4 คือ
1. ความทุกข์
2. เหตุแห่งทุกข์
3. ความดับทุกข์
4. หนทางแห่งการดับทุกข์
ฟังดูก็ง่ายดีนี่ เข้าใจง่ายดีด้วย ไม่น่ายากที่จะทำความเข้าใจว่าสี่ข้อนี้คืออะไรบ้าง แต่ถามว่า พระพุทธเจ้าสอน "ความจริง" สี่ข้อนี้มาทำไม? สอนแล้วเราได้อะไร? รู้จักสี่ข้อนี้แล้วจะช่วยอะไร?
หนังสือ "คู่มือพระพุทธศาสนาสำหรับเด็กปัญญาอ่อน" (The Complete Idiot's Guide to Buddhism) อธิบายไว้ว่า...
ในบรรดาหลักธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้นั้น สามารถสรุปลงได้ด้วยหลักความจริงเพียงสี่ข้อ หลักธรรมข้ออื่นๆ ถือได้ว่าเป็นเพียงการอธิบายให้ความกระจ่างเพิ่มเติมต่อหลักความจริงในสี่ข้อต่อไปนี้:
1. ธรรมชาติของชีวิตคนเราจะต้องมีความทุกข์ เพราะว่า...
2. เหตุแห่งทุกข์คือความยึดติดเป็นธรรมชาติของมนุษย์ กระนั้นก็ตาม...
3. เราสามารถดับทุกข์เหล่านี้ได้ เพราะว่า...
4. หนทางดับทุกข์นั้นมีอยู่จริง และพระพุทธเจ้าก็ได้สอนไว้แล้ว
โอ้โห!!! ไม่รู้ว่าท่านผู้อ่านรู้สึกเหมือนผมหรือเปล่า... แต่ผมอ่านข้อความในย่อหน้าที่แล้วแล้วผมรู้สึกเหมือนกับว่า นี่ช่างเป็นคำโฆษณาที่น่าเชื่อถือเสียนี่กระไร!! ฟังดูตรงไปตรงมา จริงจัง เรียบง่าย มีน้ำหนัก เป็นเหตุเป็นผล และเมื่อยิ่งคิดตาม ก็ยิ่งพบว่ามันเป็นความจริงเสียยิ่งนัก! นี่เองที่ทำให้ความจริงสี่ประการนี้ถูกเรียกว่า "อริยสัจ"
ความดึงดูดของสคริปต์โฆษณาชิ้นนี้ ถ้าจะไปเทียบกับโฆษณาของพระเจ้าจอร์จแห่งทีวีมีเดียแล้วละก็ ผมขอฟันธงให้พระพุทธเจ้าของเราชนะขาดรอยเลยครับ!
ผมไม่เคยคิดจะอ่านเลย รู้สึกว่าตำราพระพุทธศาสนาที่เป็นภาษาไทยมีอยู่เยอะแยะเต็มไปหมด แถมเราก็เป็นคนไทย อ่านภาษาไทยสะดวกกว่า ดังนั้น อ่านตำราไทยคงจะดีกว่า
หรือถ้ารู้สึกว่าอ่านภาษาไทยมันไม่เท่ อยากเท่ก็ไปเรียนภาษาบาลี แล้วไปอ่านฉบับภาษาบาลีซะเลยสิครับ เท่กว่ากันเยอะ
จะไป(กระแดะ)อ่านภาษาอังกฤษทำไม?
เมื่อวานนี้ผมเพิ่งรู้เองว่าทำไม...
ผมและเพื่อนๆ หลบร้อนกันอยู่ที่ร้านขายหนังสือ Barnes & Noble ในร้านก็มีหนังสือมากมายทุกรูปแบบ ผมเดินๆ ไปมา ก็ไปสะดุดตากับหนังสือเล่มนึง ชื่อว่า "The Complete Idiot's Guide to Buddhism"
อยากรู้เหลือเกินว่าฝรั่งเขาเข้าใจพุทธศาสนาอย่างไร เข้าใจอย่างที่เราเข้าใจหรือเปล่า? หลักธรรมต่างๆ เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว จะมีใจความเหมือนกับตำราแบบเรียนพระพุทธศาสนาของเมืองไทยหรือเปล่า?
หลังจากที่ลองเปิดๆ ผ่านๆ ดูไปทั้งเล่ม ก็ต้องบอกว่า เหมือนมากๆ เลยทีเดียวหละ! โดยเฉพาะในส่วนของเนื้อหาสาระและหลักธรรมคำสอน แต่ความเหมือนนี้ ก็เป็นความเหมือนที่แตกต่างซะด้วยนะ!
ที่แตกต่างนั้นไม่ใช่เนื้อหา แต่เป็นความรู้สึกเมื่อได้อ่าน
- ตำราไทยอ่านแล้วรู้สึกขลังกว่า
- ตำราอังกฤษอ่านแล้วรู้สึกเข้าใจง่ายกว่า!
ที่เข้าใจง่ายกว่าก็เพราะว่าเขาตัดความขลังออกไป ที่ว่า "ขลัง" คืออะไรล่ะ? คำตอบก็คือ "ศัพท์เทคนิค" อย่างไรล่ะครับที่ทำให้ขลัง เคยไหม? เวลาใดที่เราอ่านตำราไทยแล้วเห็นศัพท์ภาษาบาลี/สันสกฤต เราจะรู้สึกว่ามันขลังขึ้นมาโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าส่วนไหนของตำราอธิบายด้วยภาษาไทยล้วนๆ มันมักจะไม่ค่อยขลังสักเท่าไหร่
ความขลังนี้มีประโยชน์ ประโยชน์แง่นึงก็คือความขลังเป็นตัวสร้างศรัทธา พอมีศรัทธาก็จะมีกำลังใจอ่านต่อ รู้สึกว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องที่สูงส่ง จึงอยากเรียนรู้ อยากจะจำไปสอนคนอื่นได้
แต่ความขลังก็เป็นดาบสองคม เพราะเวลาเรารู้สึกว่าประโยคไหนขลัง เราจะเชื่อตามนั้นเลยโดยอัตโนมัติ (ยิ่งถ้าได้ยินว่านี่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าแล้วละก็ แทบจะเชื่อได้โดยไม่ต้องคิดสงสัยเลย) การเชื่อโดยฉับพลันเช่นนี้ทำให้เราเสียโอกาสที่จะคิดตาม เสียโอกาสที่จะคิดวิเคราะห์แต่ละข้อความตามความหมายของมัน แล้วตัดสินใจเอาด้วยตัวเองว่าจะเห็นพ้องด้วยหรือไม่
ตำราภาษาอังกฤษที่ผมอ่านนั้น ใช้ศัพท์เทคนิคน้อยมาก คำส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษพื้นๆ ที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ทำให้อ่านง่าย เหมือนฟังเพื่อนฝูงพูดคุยกัน พอเราฟังแล้วเราก็ได้คิดตาม และก็ได้เห็นตามจริงด้วยตัวเองว่า เอ้อ! มันจริงนะ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง เพราะอย่างนี้นี่เอง และพอเราเข้าใจมันแล้วเราจะรู้สึกประทับใจในความเข้าใจนั้นได้มากกว่า เพราะมันเหมือนกับว่าอยู่ใกล้ตัวกับเรา ไม่ได้ไกลห่างออกไปเสมือนเครื่องรางของขลัง ที่มีไว้บูชามากกว่ามีไว้เพื่อนำมาใช้งานประจำวัน
ธรรมะนั้นควรมีไว้เพื่อใช้งานประจำวัน
วันนี้ขอยกเรื่องที่อ่านมาอธิบายให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่ท่านผู้อ่านคงรู้จักดีอยู่แล้ว ผมเองก็รู้จักดีมาแต่ไหนแต่ไร แต่ลองมาดูวิธีอธิบายแบบนี้สักหน่อยจะเป็นไร?
[หมายเหตุ: สาเหตุของการยกตัวอย่างนี้ก็เพื่อเป็นการเล่าประสบการณ์จากการอ่านหนังสือเล่มดังกล่าวให้ฟัง ไม่ได้ต้องการจะเปรียบเทียบว่าหนังสือเล่มนั้นเขียนได้ดีกว่าหรือแย่กว่าหนังสือเล่มอื่นที่เป็นภาษาไทยแต่อย่างใด]
อริยสัจ 4
อริยสัจ 4 คืออะไร?
คุณครูที่ขี้เกียจๆ ก็จะตอบสั้นๆ ว่า อ้อ มันคือความจริงสี่ประการ ประกอบด้วย ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ และมรรค
คุณครูที่ขยันขึ้นมาหน่อย ก็จะแปลให้ฟังว่า อริยสัจ 4 คือ
1. ความทุกข์
2. เหตุแห่งทุกข์
3. ความดับทุกข์
4. หนทางแห่งการดับทุกข์
ฟังดูก็ง่ายดีนี่ เข้าใจง่ายดีด้วย ไม่น่ายากที่จะทำความเข้าใจว่าสี่ข้อนี้คืออะไรบ้าง แต่ถามว่า พระพุทธเจ้าสอน "ความจริง" สี่ข้อนี้มาทำไม? สอนแล้วเราได้อะไร? รู้จักสี่ข้อนี้แล้วจะช่วยอะไร?
หนังสือ "คู่มือพระพุทธศาสนาสำหรับเด็กปัญญาอ่อน" (The Complete Idiot's Guide to Buddhism) อธิบายไว้ว่า...
ในบรรดาหลักธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้นั้น สามารถสรุปลงได้ด้วยหลักความจริงเพียงสี่ข้อ หลักธรรมข้ออื่นๆ ถือได้ว่าเป็นเพียงการอธิบายให้ความกระจ่างเพิ่มเติมต่อหลักความจริงในสี่ข้อต่อไปนี้:
1. ธรรมชาติของชีวิตคนเราจะต้องมีความทุกข์ เพราะว่า...
2. เหตุแห่งทุกข์คือความยึดติดเป็นธรรมชาติของมนุษย์ กระนั้นก็ตาม...
3. เราสามารถดับทุกข์เหล่านี้ได้ เพราะว่า...
4. หนทางดับทุกข์นั้นมีอยู่จริง และพระพุทธเจ้าก็ได้สอนไว้แล้ว
โอ้โห!!! ไม่รู้ว่าท่านผู้อ่านรู้สึกเหมือนผมหรือเปล่า... แต่ผมอ่านข้อความในย่อหน้าที่แล้วแล้วผมรู้สึกเหมือนกับว่า นี่ช่างเป็นคำโฆษณาที่น่าเชื่อถือเสียนี่กระไร!! ฟังดูตรงไปตรงมา จริงจัง เรียบง่าย มีน้ำหนัก เป็นเหตุเป็นผล และเมื่อยิ่งคิดตาม ก็ยิ่งพบว่ามันเป็นความจริงเสียยิ่งนัก! นี่เองที่ทำให้ความจริงสี่ประการนี้ถูกเรียกว่า "อริยสัจ"
ความดึงดูดของสคริปต์โฆษณาชิ้นนี้ ถ้าจะไปเทียบกับโฆษณาของพระเจ้าจอร์จแห่งทีวีมีเดียแล้วละก็ ผมขอฟันธงให้พระพุทธเจ้าของเราชนะขาดรอยเลยครับ!
Friday, July 01, 2005 |
หนึ่ง กรกฎาคม สองพันห้าร้อยสี่สิบแปด
วันนี้เป็นวันศุกร์สุดสัปดาห์ และเป็นสุดสัปดาห์ที่ยาวนานสามวัน เพราะวันที่ 4 กรกฎาฯ นั้นเป็นวันชาติของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเขานิยมเรียกว่า "วันประกาศอิสรภาพ" เป็นวันหยุดที่สำคัญที่สุดของที่นี่
ส่วนวันนี้ วันที่หนึ่ง ก็เป็นวันสำคัญเช่นเดียวกัน วันนี้เป็น "วันแคนาดา" ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะเรียกว่าวันชาติได้หรือเปล่า แต่ก็คงมีความสำคัญมากอยู่เหมือนกัน ใครสนใจไปอ่านเองที่ http://www.pch.gc.ca/progs/cpsc-ccsp/jfa-ha/canada_e.cfm
ก็นับว่า ช่วงสุดสัปดาห์นี้เป็น ฤกษ์งาม ยามดี
สมควรที่จะมีสิ่งแปลกใหม่มาให้กับชีวิต
ทำอะไรดี ถึงจะแปลกใหม่?
- หาอะไรแปลกๆ กิน ดีไม๊?
- หรือว่า จะไปเที่ยวที่แปลกๆ?
- หาเกมแปลกๆ มาเล่น?
- หาหนังแปลกๆ มาดู?
- จัดห้องใหม่?
- ไปบวชซะดีไม๊?
- หางานใหม่ ทิ้งงานเก่า?
- ฯลฯ (สารพัด ไ-dia)
ที่ว่ามาทั้งหมดนั้นยังไม่น่าสนุกพอ เอาอย่างนี้ดีกว่า
"วันนี้ผมจะทิ้งแฟน"
เฮ่ย เฮ่ย บ้าไปแล้ว ใจเย็นๆ (พูดกับตัวเอง) ทิ้งเค้าได้ไง อยู่ด้วยกันมา ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ร่วมร้อน ร่วมหนาว มาด้วยกันตั้งหลายปี ... นี่แค่นึกสนุกก็จะมาทิ้งกันง่ายๆ ได้อย่างไร? น่าเสียดายน่าาาา
อืมมม จริง ถ้าทิ้งไปก็น่าเสียดาย เกิดตอนหลังเราต้องการเค้าขึ้นมาอีกจะว่าอย่างไร ใช่ว่าจะหาใหม่ได้ง่ายๆ ซะเมื่อไหร่
งั้นเอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ลากลงไปเก็บไว้ในห้องเก็บของดีกว่า! พัดลมตัวนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องผมอีกต่อไป ก็ผมเพิ่งซื้อแอร์มานี่นา ยี่ห้อ LG ใหม่เอี่ยม 8000 BTU พลังเหลือเฟือสำหรับห้องนอนของคนคนเดียว (คนใจเดียวด้วยหละ (...อ้วก!)) ตอนนี้ห้องผมก็เย็นเฉียบ แถมยังเงียบแสนเงียบ บรรยากาศเช่นนี้ จะทำงานก็ทำได้อย่างลื่นสมอง จะนอนก็นอนได้อย่างสบายยิ่ง เรียกได้ว่า "เย็นเฉียบ เงียบสนิท"
พัดลมตัวนี้ แม้จะเคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมานาน แม้มันจะเคยคลายร้อนให้ผมได้บ้างตามความสามารถของมัน แม้ว่ามันจะเคยทุ่มเททำเพื่อผมมามากแค่ไหน แต่ถึงบัดนี้เมื่อผมมีคน เอ๊ย แอร์ที่ทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่า ผมจะยังต้องการพัดลมไปอีกเพื่ออะไร? ก็คงเป็นเวลาที่ผมจะต้องบอกลา และคุณพัดลม ก็ควรจะต้องตัดใจ เอ๊ย ตัดไฟ
ต่อแต่นี้ไป กระแสความรัก เอ๊ย กระแสไฟฟ้า จากห้องหัวใจ เอ๊ย จากห้องนอนของผม คงจะไม่มีให้กับแฟนเก่าคนนี้ เอ๊ย พัดลมเก่าตัวนี้อีกต่อไปแล้ว
ฮ่าๆๆ ถ้าท่านผู้อ่านรู้สึกสะดุ้งๆ เมื่ออ่านย่อหน้าที่แล้ว ผู้เขียนขอบอกว่าผู้เขียนสะดุ้งแรงยิ่งกว่า บรึ๋ยยย
แต่ตามหลักมนุษยธรรม(พัดลมยธรรม?)แล้ว การจะทิ้งพัดลมไปโดยไม่บอกลานั้นมันช่างโหดร้ายยิ่ง ดังนั้น ก่อนจะถอดปลั๊ก ผมจึงนั่งคุยกับเธอ เอ๊ย กับมัน (ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณ) เสมือนกับว่าจะเป็นการพูดคุยเพื่อแยกทางกันอย่างเข้าอกเข้าใจ
"พัดลมจ๋า ฉันเคยรักเธอ และเธอก็เคยเป็นสิ่งเดียวที่อยู่เคียงข้างฉันในยามที่ฉันร้อนรน ลมปาก เอ๊ย ลมจากใบพัดของเธอ มันทำให้ฉันมีลมหายใจอยู่ได้ แต่เธอรู้ไหม หลังจากอยู่กับเธอมาหลายปีแล้ว ฉันเริ่มรู้สึกว่าความสุขที่เธอให้ฉันมันไม่เพียงพอ เธออย่าน้อยใจไปเลยที่ฉันจะพูดความจริง ฉันรู้ว่าเธอหมุนใบพัดมาโดยตลอดก็เพื่อฉัน และเธอก็มีความสุขที่จะทำอย่างนั้น โดยเฉพาะในวันที่แดดเปรียงๆ เธอก็หมุนแรงมากเพื่อให้ฉันเย็นสบาย แต่เธอรู้ไหม ว่ามันไม่เคยทำให้ฉันดีขึ้นเลย จริงอยู่ มีลมพัดใส่ตัวฉันก็จริง แต่มันก็เป็นลมร้อน ยิ่งอากาศร้อนเธอก็ยิ่งหมุนแรง และฉันก็ยิ่งต้องรับอากาศร้อนๆ ที่เป่ามาจากเธอเยอะขึ้น เยอะขึ้น จนฉันต้องปวดหัว ไม่สบาย ล้มป่วยไปหลายครั้ง ขอโทษด้วยที่ฉันไม่เคยบอกเธอเพราะฉันไม่กล้า ฉันกลัวเธอเสียใจ กลัวเธอทิ้งฉันไป ก็ตอนนั้นฉันเคยมีเธอคนเดียวนี่นา แต่ตอนนี้ฉันไม่อยากทนต่อไปแล้ว ฉันจึงต้องบอกความจริงกับเธอ ฉันเสียใจนะ แต่เราคงต้องแยกทางกันแล้ว เธอเข้าใจฉันใช่มั้ย? ทำไมเธอส่ายหน้าเล่า? ถ้าเธอรักฉันจริงเธอต้องเข้าใจและยอมจากไปโดยดีสิจ๊ะ นะ อย่าส่ายหน้าเลย ฉันรู้เธอรักฉัน แต่เราคงไม่เหมาะที่จะอยู่ด้วยกันหรอก ฉันมันขี้ร้อนเกินไป และเธอก็พัดลมร้อนให้ฉันมากไป โลกนี้มีคนอื่นหลายคนที่ไม่ขี้ร้อนเหมือนฉัน ที่อาจจะเหมาะกับเธอมากกว่าฉัน เธอต้องเข้าใจฉันนะ นี่แน่ะ ฉันกดปุ่มให้เธอหยุดส่ายหน้าได้แล้ว ดีใจจังเธอเข้าใจฉันแล้ว เราดีต่อกันนะ แยกทางกัน แต่ดีต่อกันนะ"
พัดลมมันมองผมอย่างทอดอาลัย ราวกับไม่อยากจะจากไป
"ใช่ว่าเธอจะต้องจากฉันไปตลอดไปนี่นา สักวันเธออาจจะเย็นขึ้น สักวันฉันอาจจะขี้ร้อนน้อยลง สักวันอากาศอาจจะไม่ร้อนมากนัก สักวันแอร์ของฉันอาจจะชำรุดเสียหาย ดังนั้น สักวัน เราอาจจะกลับมาอยู่ด้วยกันอีกก็ได้ ฉันไม่ได้ทิ้งเธอไปไหน แค่เอาเธอไปเก็บไว้ในห้องเก็บของเท่านั้นเอง เธออย่าได้เศร้าไปเลย สักวันหนึ่งที่ฉันไม่มีใคร ฉันจะไปหาเธอ"
...
พูดเสร็จผมก็ยกพัดลมลงไปเก็บในห้องเก็บของ ล็อคกุญแจไว้จะได้ไม่มีใครขโมยมันไป แล้วเดินขึ้นมานอนตากแอร์เย็นเฉียบ เงียบสนิท ช่างมีความสุขเสียนีกระไร
วันนี้เป็นวันศุกร์สุดสัปดาห์ และเป็นสุดสัปดาห์ที่ยาวนานสามวัน เพราะวันที่ 4 กรกฎาฯ นั้นเป็นวันชาติของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเขานิยมเรียกว่า "วันประกาศอิสรภาพ" เป็นวันหยุดที่สำคัญที่สุดของที่นี่
ส่วนวันนี้ วันที่หนึ่ง ก็เป็นวันสำคัญเช่นเดียวกัน วันนี้เป็น "วันแคนาดา" ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะเรียกว่าวันชาติได้หรือเปล่า แต่ก็คงมีความสำคัญมากอยู่เหมือนกัน ใครสนใจไปอ่านเองที่ http://www.pch.gc.ca/progs/cpsc-ccsp/jfa-ha/canada_e.cfm
ก็นับว่า ช่วงสุดสัปดาห์นี้เป็น ฤกษ์งาม ยามดี
สมควรที่จะมีสิ่งแปลกใหม่มาให้กับชีวิต
ทำอะไรดี ถึงจะแปลกใหม่?
- หาอะไรแปลกๆ กิน ดีไม๊?
- หรือว่า จะไปเที่ยวที่แปลกๆ?
- หาเกมแปลกๆ มาเล่น?
- หาหนังแปลกๆ มาดู?
- จัดห้องใหม่?
- ไปบวชซะดีไม๊?
- หางานใหม่ ทิ้งงานเก่า?
- ฯลฯ (สารพัด ไ-dia)
ที่ว่ามาทั้งหมดนั้นยังไม่น่าสนุกพอ เอาอย่างนี้ดีกว่า
"วันนี้ผมจะทิ้งแฟน"
เฮ่ย เฮ่ย บ้าไปแล้ว ใจเย็นๆ (พูดกับตัวเอง) ทิ้งเค้าได้ไง อยู่ด้วยกันมา ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ร่วมร้อน ร่วมหนาว มาด้วยกันตั้งหลายปี ... นี่แค่นึกสนุกก็จะมาทิ้งกันง่ายๆ ได้อย่างไร? น่าเสียดายน่าาาา
อืมมม จริง ถ้าทิ้งไปก็น่าเสียดาย เกิดตอนหลังเราต้องการเค้าขึ้นมาอีกจะว่าอย่างไร ใช่ว่าจะหาใหม่ได้ง่ายๆ ซะเมื่อไหร่
งั้นเอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ลากลงไปเก็บไว้ในห้องเก็บของดีกว่า! พัดลมตัวนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องผมอีกต่อไป ก็ผมเพิ่งซื้อแอร์มานี่นา ยี่ห้อ LG ใหม่เอี่ยม 8000 BTU พลังเหลือเฟือสำหรับห้องนอนของคนคนเดียว (คนใจเดียวด้วยหละ (...อ้วก!)) ตอนนี้ห้องผมก็เย็นเฉียบ แถมยังเงียบแสนเงียบ บรรยากาศเช่นนี้ จะทำงานก็ทำได้อย่างลื่นสมอง จะนอนก็นอนได้อย่างสบายยิ่ง เรียกได้ว่า "เย็นเฉียบ เงียบสนิท"
พัดลมตัวนี้ แม้จะเคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมานาน แม้มันจะเคยคลายร้อนให้ผมได้บ้างตามความสามารถของมัน แม้ว่ามันจะเคยทุ่มเททำเพื่อผมมามากแค่ไหน แต่ถึงบัดนี้เมื่อผมมีคน เอ๊ย แอร์ที่ทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่า ผมจะยังต้องการพัดลมไปอีกเพื่ออะไร? ก็คงเป็นเวลาที่ผมจะต้องบอกลา และคุณพัดลม ก็ควรจะต้องตัดใจ เอ๊ย ตัดไฟ
ต่อแต่นี้ไป กระแสความรัก เอ๊ย กระแสไฟฟ้า จากห้องหัวใจ เอ๊ย จากห้องนอนของผม คงจะไม่มีให้กับแฟนเก่าคนนี้ เอ๊ย พัดลมเก่าตัวนี้อีกต่อไปแล้ว
ฮ่าๆๆ ถ้าท่านผู้อ่านรู้สึกสะดุ้งๆ เมื่ออ่านย่อหน้าที่แล้ว ผู้เขียนขอบอกว่าผู้เขียนสะดุ้งแรงยิ่งกว่า บรึ๋ยยย
แต่ตามหลักมนุษยธรรม(พัดลมยธรรม?)แล้ว การจะทิ้งพัดลมไปโดยไม่บอกลานั้นมันช่างโหดร้ายยิ่ง ดังนั้น ก่อนจะถอดปลั๊ก ผมจึงนั่งคุยกับเธอ เอ๊ย กับมัน (ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณ) เสมือนกับว่าจะเป็นการพูดคุยเพื่อแยกทางกันอย่างเข้าอกเข้าใจ
"พัดลมจ๋า ฉันเคยรักเธอ และเธอก็เคยเป็นสิ่งเดียวที่อยู่เคียงข้างฉันในยามที่ฉันร้อนรน ลมปาก เอ๊ย ลมจากใบพัดของเธอ มันทำให้ฉันมีลมหายใจอยู่ได้ แต่เธอรู้ไหม หลังจากอยู่กับเธอมาหลายปีแล้ว ฉันเริ่มรู้สึกว่าความสุขที่เธอให้ฉันมันไม่เพียงพอ เธออย่าน้อยใจไปเลยที่ฉันจะพูดความจริง ฉันรู้ว่าเธอหมุนใบพัดมาโดยตลอดก็เพื่อฉัน และเธอก็มีความสุขที่จะทำอย่างนั้น โดยเฉพาะในวันที่แดดเปรียงๆ เธอก็หมุนแรงมากเพื่อให้ฉันเย็นสบาย แต่เธอรู้ไหม ว่ามันไม่เคยทำให้ฉันดีขึ้นเลย จริงอยู่ มีลมพัดใส่ตัวฉันก็จริง แต่มันก็เป็นลมร้อน ยิ่งอากาศร้อนเธอก็ยิ่งหมุนแรง และฉันก็ยิ่งต้องรับอากาศร้อนๆ ที่เป่ามาจากเธอเยอะขึ้น เยอะขึ้น จนฉันต้องปวดหัว ไม่สบาย ล้มป่วยไปหลายครั้ง ขอโทษด้วยที่ฉันไม่เคยบอกเธอเพราะฉันไม่กล้า ฉันกลัวเธอเสียใจ กลัวเธอทิ้งฉันไป ก็ตอนนั้นฉันเคยมีเธอคนเดียวนี่นา แต่ตอนนี้ฉันไม่อยากทนต่อไปแล้ว ฉันจึงต้องบอกความจริงกับเธอ ฉันเสียใจนะ แต่เราคงต้องแยกทางกันแล้ว เธอเข้าใจฉันใช่มั้ย? ทำไมเธอส่ายหน้าเล่า? ถ้าเธอรักฉันจริงเธอต้องเข้าใจและยอมจากไปโดยดีสิจ๊ะ นะ อย่าส่ายหน้าเลย ฉันรู้เธอรักฉัน แต่เราคงไม่เหมาะที่จะอยู่ด้วยกันหรอก ฉันมันขี้ร้อนเกินไป และเธอก็พัดลมร้อนให้ฉันมากไป โลกนี้มีคนอื่นหลายคนที่ไม่ขี้ร้อนเหมือนฉัน ที่อาจจะเหมาะกับเธอมากกว่าฉัน เธอต้องเข้าใจฉันนะ นี่แน่ะ ฉันกดปุ่มให้เธอหยุดส่ายหน้าได้แล้ว ดีใจจังเธอเข้าใจฉันแล้ว เราดีต่อกันนะ แยกทางกัน แต่ดีต่อกันนะ"
พัดลมมันมองผมอย่างทอดอาลัย ราวกับไม่อยากจะจากไป
"ใช่ว่าเธอจะต้องจากฉันไปตลอดไปนี่นา สักวันเธออาจจะเย็นขึ้น สักวันฉันอาจจะขี้ร้อนน้อยลง สักวันอากาศอาจจะไม่ร้อนมากนัก สักวันแอร์ของฉันอาจจะชำรุดเสียหาย ดังนั้น สักวัน เราอาจจะกลับมาอยู่ด้วยกันอีกก็ได้ ฉันไม่ได้ทิ้งเธอไปไหน แค่เอาเธอไปเก็บไว้ในห้องเก็บของเท่านั้นเอง เธออย่าได้เศร้าไปเลย สักวันหนึ่งที่ฉันไม่มีใคร ฉันจะไปหาเธอ"
...
พูดเสร็จผมก็ยกพัดลมลงไปเก็บในห้องเก็บของ ล็อคกุญแจไว้จะได้ไม่มีใครขโมยมันไป แล้วเดินขึ้นมานอนตากแอร์เย็นเฉียบ เงียบสนิท ช่างมีความสุขเสียนีกระไร