It has been one year + one day since Mom got the cancer diagnosis. On Feb-22, 2008, Mom had a CT scan, a colonoscopy, a deadly diagnosis, and a life-saving colon surgery on the same day.
Over the past year, Mom has fought hard, going through the most aggressive and advanced chemotherapy for 8 months, followed by about 2 months of rests and preparations for another surgery. On Jan-9, 09, Mom had a hepatomy (liver resection) by the most elite team in the country.
Today, about 2 months after the latest surgery, Mom had her first follow-up MRI. It was done at Bamrungrat Hospital in Bangkok. She will know the results when she meets with her surgeon (Dr Boonchoo) at Bangpakok I Hospital on Mar-1, 09. Then, two days later (Mar-3), she will see her oncologist at Chula Hospital.
My sister got a speeding ticket while driving Mom to the MRI today. It's interesting that the cops give tickets to cancer patients. Hmmm, rule of law is very strict in Thailand. I guess that's a good thing for the country.
We pray for the best outcome from the MRI. Hopefully the cancer is completely gone and no follow-up procedures are neccessary. But we will do what we have to do. Mom has to be cured. We will fight to the end and the end will be a success.
Thanks to all supporters and well-wishers: friends, family, relatives, teachers, doctors, internet strangers. I will keep you updated.
Labels: cancer, family
ความฝืดคอและความขมขื่น มันกลายเป็นความชื่นใจและชื่นชม เพราะสิ่งที่ได้ยินระหว่างกระเพราเป็ดคำนั้นเพียงคำเดียว
... ย้อนเวลากลับไป 15 นาที ....
ผมกำลังนั่งทานกระเพราเป็ด (จากร้านรสเด็ด ใน LA) ข้าวกล้อง (จาก 99 Ranch ใน Berkeley) และสลัด (ผักจาก Costco, น้ำสลัดจาก Berkeley Bowl) อย่างเอร็ดอร่อย ตาก็จ้องทีวีซึ่งกำลังเปิดช่อง CNBC สารคดีระหว่างอาหารเย็นมื้อนี้เป็นเรื่องของ Harvard Business School (HBS)
เรื่องราวตอนต้นเป็นการกล่าวถึงชีวิตใน HBS ว่ามันยากลำบากอย่างไรบ้าง ความกดดันมันสูงแค่ไหน การที่นักเรียนต้องทำงาน "36 ชั่วโมง ในแต่ละวัน" มันโหดร้ายเพียงใด
ฟังแล้วก็เครียด น่ากลัว หดหู่ อาหารมื้ออร่อยที่กำลังทานอยู่ก็เริ่มฝืดคอ
ดูทีวีต่อไปอีกสักพักก็เริ่มมีบทวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีผู้ประสบความสำเร็จตั้งหลายคนที่ไม่ได้จบจาก HBS เช่น บิลล์ เกตส์ แ ห่งไมโครซอฟท์, เซอร์กี้ กับ แลรี่ แห่ง กูเกิ้ล, วอเรน บัฟเฟต์ แห่งโอมาฮา, ฯลฯ ... แท้จริงแล้วพวกเขาเหล่านั้นไม่เคยจบ business school ที่ไหนเลยด้วยซ้ำ!
ในทางตรงข้าม คนที่จบ HBS บางคนกลับทำเรื่่องงามหน้าไม่น้อย เช่น Jeffrey Skilling ซีอีโอของเอ็นรอน ซึ่งกำลังติดคุกอยู่ในขณะนี้
ฟังถึงจุดนี้ กระเพราะเป็ดของผมเริ่มเปลี่ยนรสชาติ จากแซ่บกลายเป็นเฝื่อน ผักสลัดก็เริ่มเปลี่ยนจากสดเป็นขมปี๋ ข้าวกล้องที่เคยลื่นคอก็เริ่มติดคอ
มันช่างเป็นรายการที่ไม่คู่ควรกับมื้ออาหารอย่างยิ่ง!
... พักโฆษณา ...
ผมทานอาหารของผมไปเรื่อยๆ รสชาติอาหารยังไม่ดีขึ้น ผมคิดว่าจะเปลี่ยนช่องดีหรือไม่ แต่อีกใจหนึ่งก็คิดว่ารีบกินให้เสร็จๆ ไปดีกว่า จะได้รีบไปทำงานต่อ ถ้าผมโชคดีผมอาจจะกินเสร็จก่อนโฆษณาจบก็ได้
ผมตักมื้อเกือบสุดท้ายขึ้นมา กำลังจะเอาเข้าปาก ผมคาดหวังรสชาติที่แย่ที่สุดจากกระเพราเป็ดคำนั้น แต่ยังไม่ทันที่ผมจะได้กินมัน.. รายการนั้นกลับมาอีกครั้งพอดี
ช่วงนี้ของรายการเป็นช่วงที่กล่าวถึงศิษย์เก่าที่น่าชื่นชมของ HBS: แคธี่ จูสตี (Kathy Giusti)
... ย้อนเวลากลับไป 13 ปี ...
หลังจากเรียนจบ Harvard Business School คุณ แคธี่ จูสตี ทำงานที่บริษัทยาแห่งหนึ่ง มีลูกหนึ่งคนอายุหนึ่งขวบ
อยู่ดีๆ แท้ๆ เธอก็ได้ข่าวร้าย
เธอเป็นมะเร็งชนิดที่เรียกว่า Multiple Myeloma ซึ่งในขณะนั้น ไม่มีทางรักษาได้ หมอบอกว่าเธอมีเวลาอีก 3 ปี
แคธี่ เป็นคนเก่ง และเป็นนักสู้ เธอเริ่มหาข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งชนิดนั้น แล้วข้อมูลที่เธอได้รับก็คือ โอกาสเธอมีน้อยมาก ไม่มียาชนิดใดที่จะช่วยยืดชีวิตเธอได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหน่วยงานวิจัยแต่ละแห่งที่กำลังทำวิจัยเรื่องนี้ ก็ต่างทำงานเป็นภาคส่วน ไม่มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบ
ด้วยความเป็นผู้นำในตัวเธอ เธอตัดสินใจลุกขึ้นสู้ ไม่ใช่แค่สู้ให้ตัวเองรอด แต่เธอต้องการสู้ให้คนอื่นที่เป็นมะเร็งชนิดนี้รอดใ นที่สุด -- แม้ว่าหากเธอเองจะไม่รอดก็ตาม
เธอจัดตั้งมูลนิธิ Multiple Myeloma Research Foundation (MMRF) ขึ้นมาเพื่อหาเงินสนับสนุนงานวิจัยมะเร็ง และเธอเองก็ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ทำงานหามรุ่งหามค่ำเพื่อบริหารจัดการมูลนิธินี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เธอประสานงานกับหน่วยงานวิจัยและโรงพยาบาลต่างๆ 15 แห่ง
ด้วยความถนัดของเธอทางธุรกิจ เธอจึงบริหารจัดการมูลนิธินี้อย่างธุรกิจ จัดสรรผลประโยชน์ให้ฝ่ายต่างๆ มีการกำหนดเป้าหมายและเส้นตายอย่างชัดเจน มีการประเมินผลอยู่ตลอดเวลา ทุกอย่างจึงเคลื่อนที่เร็วมาก -- มันจำเป็นต้องเคลื่อนที่เร็วมาก เพราะเธอเองไม่มีเวลาเหลือมากนัก
นักข่าวถามเธอว่า "คุณสร้างมูลนิธินี้เพื่อตัวเองหรือเพื่อคนอื่น?"
เธอตอบว่า หากเธออยู่ได้แค่อีกสามปี ลูกสาวอาจจะจำเธอไมได้เมื่อเธอจากไป แต่หากมูลนิธินี้ประสบความสำเร็จบ้าง เธออาจจะอยู่ได้อีกสัก 4 ปี เมื่อลูกสาวเธออายุ 5 ขวบ ก็คงจะจำเธอได้
เธอไม่ได้อวดอ้างว่าตัวเองทำเพื่อมนุษยชาติ เธอทำเพื่อลูกสาวคนเดียวของเธอ
ผมฟังแล้วตื้นตัน นี่แหละหนา ความคิดของคนที่เป็นแม่
... เวลาผ่านไป 5 ปี ...
เธอยังไม่ตาย!
และไม่ใช่เท่านั้น เพื่อนร่วมชะตากรรมของเธออีกกว่า 50,000 คนทั่วโ ลก ต่างได้รับอานิสงส์จากยา 5 ชนิด ที่มูลนิธิ MMRF ของเธอ ได้มีส่วนสนับสนุนเงินกว่า 102 ล้านดอลล่าร์ ในการค้นพบ: Velcade, Thalomid, Revlimid, และ Doxil
เธอเองมีชีวิตรอดได้จากการทำเคมีบำบัด การปลูกถ่ายไขกระดูก และการใช้ยาขนานใหม่ที่หากเธอไม่ได้ลุกขึ้นสู้อย่างสุดชีวิตในวันนั้น อาจจะถูกค้นพบได้ไม่ทันในวันนี้
ค่าเฉลี่ยอายุขัยของผู้ที่เป็นมะเร็งชนิดนี้ เพิ่มขึ้นจาก 3-4 ปี เป็น 6-7 ปี เธอบอกว่าแม้จะฟังดูเหมือนไม่มาก แต่สำหรับผู้ป่วยแล้ว การได้รับเวลาแห่งชีวิตเพิ่มขึ้นสองเท่านั้นเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ไม่น้อยเลย
เธอได้รับเวลาแห่งชีวิตคืน มากกว่าสองเท่า
... เวลาผ่านไป จนถึงปัจจุบัน ...
เธอยังมีชีวิตอยู่ ยังคงทำงานอยู่กับมูลนิธิ MMRF และวันนี้เธออยู่ในจอทีวีข้างหน้าผม ในฐานะศิษย์เก่าตัวอย่างของ Harvard Business School
เพื่อนๆ สมัยเรียน ได้ช่วยเธอเขียนแผนธุรกิจของมูลนิธิตั้งแต่เริ่มต้น ความรู้ที่เธอได้เรียนมาช่วยให้เธอค้นพบวิธีดำเนินการอย่างเป็นระบบ และที่สำคัญที่สุด ประสบการณ์ที่แข็งกล้าของเธอสอนให้เธอเป็นนักสู้และนักแก้ปัญหา เมื่อเธอพบว่าตนเองเป็นมะเร็งเธอก็หาวิธีแก้ตามแบบฉบับของเธอ
นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้เธอยังมีชีวิตอยู่ได้ เธอมีชีวิตอยู่กับลูกสองคนของเธอ และมูลนิธิ MMRF ซึ่งกำลังพยายามวิจัยพัฒนายาอีกกว่า 30 รายการ ด้วยความหวังจะรักษามะเร็งชนิดนี้ให้หายขาดได้ในทุกคน
... เวลาผ่านไปเ พียงชั่วขณะ ...
อาหารอร่อยแล้ว กระเพราเป็ดคำนั้นเคลื่อนเข้าปากผม ผมเคี้ยวและกลืนอย่างเอร็ดอร่อยได้อีกครั้ง ความฝืดคอและความขมขื่น มันกลายเป็นความชื่นใจและชื่นชม เพราะสิ่งที่ได้ยินระหว่างกระเพราเป็ดคำนั้นเพียงคำเดียว
... จบ ...
วิดิโอ จาก CNBC: http://www.cnbc.com/id/15840232?video=946536690
(แค่บางส่วน)
วิดิโอ จาก CNN: http://money.cnn.com/video/#/video/news/2008/03/07/gw.cancer.cnnmoney
(ออกอากาศตั้งแต่ มี.ค. 08)
เว็บไซต์ของมูลนิธิ MMRF: http://www.multiplemyeloma.org/foundation/1.19.php
(บริจาคเงินได้ที่นี่)
Labels: biography, cancer, charity, dinner, tv
เมื่อครั้งผมอยู่ ป.3 (grade school) ผมได้รู้จักวันมาฆบูชา แล้วผมก็งุนงงสงสัย วันนี้ซึ่งผมอยู่ปี 3 (grad school) ผมได้รับคำตอบ
ผมถูกสอนว่า วันมาฆบูชาเป็นวันที่มี "สิ่งอัศจรรย์" เกิดขึ้น 4 ประการ (technical term: "จาตุรงคสันนิบาต")
1) พระอรหันต์ 1250 รูปมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
2) ทุกรูปเป็นพระที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ (technical term: "เอหิภิกขุ")
3) การประชุมเกิดขึ้นโดยไม่ได้นัดหมาย
4) เป็นวันเพ็ญเดือนสาม (== เดือนมาฆะ)
เอ๊ะ .. มันน่าอัศจรรย์จริงๆ หรือ?
ข้อ 1: สาวกของพระพุทธเจ้ามีอยู่มาก 1250 ไม่ใช่ตัวเลขที่สูงจนน่าอัศจรรย์ แต่ก็ยอมรับว่าเป็นเลขสวย (1250 = 5*5*5*5*2 = 5^4 * 2) แต่ถ้าเป็น 3125 จะสวยกว่ามาก (3125 = 5^5)
ข้อ 2: พระพุทธเจ้าทรงบวชให้คนตั้งเยอะแยะ และไม่เป็นที่ชัดเจนว่่านอกจาก 1250 รูปซึ่งเป็นเอหิภิกขุนั้นแล้ว ยังมีพระอรหันต์รูปอื่นซื่งไม่ใช่เอหิภิกขุอยู่ในบริเวณนั้นอีกหรือไม่
ข้อ 3: การที่ท่านเหล่านั้นไม่ได้นัดกันไม่ใช่เรื่องแปลก ผมเชื่อว่าทุกวันย่อมมีพระอรหันต์มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นเนืองนิจอยู่แล้ว อาจจะมีมากบ้าง น้อยบ้าง แล้วแต่วัน บางวันอาจจะมีร้อยรูป บางวันพันรูป บางวัน 1024 รูป บางวัน 2048 รูป ฯลฯ แต่เผอิญว่าวันนั้นมี 1250 รูป เลขสวยดี ก็เลยเป็นเรื่องขึ้นมา อีกทั้งในตำนานก็ไม่ได้บอกด้วยว่า 1250 เป็นจำนวนพระอรหันต์ที่มากที่สุดที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้าในวันเดียวกัน
อีกอย่าง ถ้าท่านเหล่านั้นนัดกันมาได้สิ ถึงจะน่าแปลก สมัยนั้นโทรศัพท์ก็ไม่มี จดหมายก็ต้องใช้ม้าเร็วส่ง ไม่มีรถยนต์ ไม่มี air mail ไม่มีอีเมลล์ ไม่มี facebook ไม่มี hi-5 การนัดกันคงจะยากกว่าการไม่นัดกัน
ข้อ 4: วันเพ็ญเกิดขึ้นทุกเดือน ไม่ใช่เรื่องน่าอัศจรรย์อยู่แล้ว การที่วันนั้นเป็นวันเพ็ญยิ่งทำให้ข้อ 3 เสียความน่าอัศจรรย์เข้าไปอีก เพราะว่าวันเพ็ญเป็นวันที่มีแสงสว่าง เหมาะกับการเดินทาง เหมาะกับการนั่งฟัง lecture ยามค่ำคืน
ผมจึงนั่งงง ว่าวันนี้มีความสำคัญอย่างไรกันแน่?
...
"โอวาทปาติโมกข์" ใช่แล้ว! โอวาทปาติโมกข์!
ความสำคัญอีกประการหนึ่งของวันมาฆบูชาก็คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมชื่อว่า "โอวาทปาติโมกข์" ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น "หัวใจของพระพุทธศาสนา" มีใจความสรุปคือ: 1) ทำดี 2) ละชั่ว 3) ทำใจให้ผ่องใส
ความจริงข้อนี้ไม่ได้ถูกจัดเป็นหนึ่งในสี่เรื่องอัศจรรย์ แต่ก็เป็นเรื่องที่ปรากฎในหนังสือเรียนพระพุทธศาสนาทุกเล่ม
ดังนั้นหากวันมาฆบูชาจะมีความสำคัญ ก็คงไม่ได้สำคัญที่สิ่งอัศจรรย์ข้างต้นเหล่านั้น แต่สำคัญที่ใจความข้อสุดท้ายนี้ต่างหาก ที่ว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอันเป็น tag line / slogan / mission statement / motto / catch phrase / axiom / thesis statement ของพระพุทธศาสนา
การยกคำสอน "ทำดี ละชัว ทำใจให้ผ่องใส" ขึ้นเป็นหัวใจของศาสนานั้น ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่สั้น ง่าย ได้ใจความ สามารถแบ่งแยกลักษณะของศาสนาพุทธออกจากศาสนาอื่นได้อย่างชัดเจน ที่เห็นได้ชัดก็คือศาสนานี้เชื่อว่ามนุษย์สามารถ "เลือก" ที่จะทำหรือไม่ทำได้ด้วยตนเอง (เชื่อใน free will), ไม่ยึดมั่นในพระเจ้า (ไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่มีพระเจ้า แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญ), และให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับจิตใจ
แต่กระนั้น ... หากลองพิจารณาดูว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมทุกวัน แสดงหลักธรรมต่างๆ อื่นๆ อีกมากมาย ทำไมวันที่พระองค์แสดงหลักธรรมข้ออื่นจึงไม่เป็นวันสำคัญบ้าง?
ผมจึงต้องนั่งงงต่อไป
...
wikipedia! ใช่แล้ว wikipedia!
ผมเก็บความงุนงงสงสัยมานานหลายปี แต่ผมไม่เคยวิกิพีเดียเรื่องนี้ดูเลยสักครั้งเดียว (ในที่นี้ "วิกิพีเดีย" เป็น verb) ผมจึงลองเข้าไปอ่านดู ก็พบว่า...
วันนี้เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือนสาม) ครั้งแรกหลังการตรัสรู้ นับเป็นเวลา 9 เดือนพอดี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องมีเหตุมีผลที่วันเพ็ญเดือนสามครั้งนี้จะมีความพิเศษมากกว่าวันเพ็ญเดือนสามครั้งอื่นๆ
แต่.. วันเพ็ญเดือนสามแล้วไง? มันสำคัญอย่างไร?
อ่านต่อไปจึงได้เรียนรู้ว่า: "วันเพ็ญเดือนสาม" เป็นวันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ มีชื่อทางเทคนิคว่า "วันศิวาราตรี" ผู้คนจะทำการบูชาพระศิวะด้วยการ "ลอยบาป" หรือล้างบาปด้วยน้ำ
พระอรหันต์ 1250 รูปนั้น ล้วนเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน และเคยทำพิธีลอยบาปมาทุกปี จนกระทั่งปีนี้เป็นวันเพ็ญเดือนสามครั้งแรกที่พวกท่านเหล่านั้นจะไม่ได้ทำพิธีให้พระศิวะอีกต่อไป ตรงกันข้าม! ท่านกลับยกขบวนกันมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแทน
การที่พระพุทธเจ้าเลือกแสดงธรรมที่เป็นหัวใจของศาสนาในวันนี้ จึงเป็น milestone ที่สำคัญ เพราะจัดว่าเป็นการประกาศชัยชนะ (ในไตรมาสที่สาม)
Mission Accomplished!
วันมาฆะบูชามีความอัศจรรย์อย่างนี้นี่เอง :)
Labels: religion