Monday, January 16, 2006 |
วันนี้เพิ่งอ่านนิยายเรื่อง Digital Fortress จบ เล่มนี้เขียนโดย Dan Brown คนเดียวกับที่เขียนเรื่อง Davinci Code และ Angels & Demons ซึ่งโด่งดังขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
จะไม่โด่งดังได้อย่างไร ก็หนังสือแต่ละเล่มของเขาผมอ่านแล้วแทบวางไม่ลงทั้งนั้น แม้จะหนาสักเพียงไหนก็เป็นต้องอ่านจบภายใน 2-3 วัน
เรื่องนี้การดำเนินเรื่องสนุกน่าติดตาม(เกือบจะ)ไม่แพ้เล่มอื่นๆ ของ แดน บราวน์ แต่เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัส/ถอดรหัสด้วยคอมพิวเตอร์ จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวผมมากกว่าเล่มอื่นๆ (ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับศิลปะยุโรปโบราณ หรือไม่ก็คริสตศาสนา -- ซึ่งผมแทบไม่มีความรู้เลย)
แต่การอ่านหนังสือที่เรามีความรู้มากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป โดยเฉพาะหนังสือนิยายแนวลึกลับที่ต้องใช้ความคิดติดตาม เพราะจะทำให้เราพบความไม่สมจริง ความไม่ลงรอยกันของข้อมูล จนกระทั่งถึงความ "มั่วนิ่ม" ในเนื้อเรื่องบางส่วนได้ง่าย และบางครั้งพอเจอมากๆ เข้าก็ทำให้ความบันเทิงที่ได้รับหดหายลงไป
อย่างเรื่อง Digital Fortress นี้ ผมก็รู้สึกตะหงิดๆ กับการที่คอมพิวเตอร์ชื่อ TRANSLTR ซึ่งมี processor ทำงานขนานกันอยู่สามล้านตัว สามารถถอดรหัสซึ่งมีความยาวนับ "พันล้านบิต" ได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง (หรือน้อยกว่านั้นด้วยซ้ำไป?) มันน่าตลกที่ว่า...
1) รหัสบ้าอะไรหว่า...ยาวเป็นร้อยเม็ก (แต่ก็ยังอาจจะเป็นไปได้)
2) รหัสยาวขนาดนั้น การถอดรหัสจะต้องทดลองรูปแบบที่แตกต่างกันถึง สองยกกำลังพันล้าน รูปแบบ ... หารนั่นด้วยสามล้าน(ซึ่งน้อยกว่า 2^22) ก็เท่ากับว่า cpu แต่ละตัวรับผิดชอบไปตัวละมากกว่า สองยกกำลัง(พันล้านลบยี่สิบสอง) รูปแบบ
cpu ผีเท่านั้นละมังที่จะทดลองรหัสจำนวนมากขนาดนั้นได้ภายในวันเดียว ... (หรือแม้แต่เดือนเดียว)
อีกเรื่องหนึ่งที่อ่านแล้วรู้สึกระคายเคืองเล็กน้อย ก็คือการที่เขาบอกว่า "รหัสผ่านนั้นมีความยาวถึง 64 บิต ... คงเป็นการยากที่เราจะงมเข็มค้นหารหัสที่ถูกต้อง เพราะรหัสอาจเป็นคำว่าอะไรก็ได้ที่มีความยาว 64 ตัวอักษร"
อ้าว ฮึ้ย... ตกลงว่าหนึ่งบิตคือหนึ่งตัวอักษร?
เอาเถอะครับ ผมมาเล่าให้ฟังเฉยๆ เอาเท่านี้ก่อนละกัน หากเล่ามากไปจะกลายเป็นว่าคนที่อยากอ่านเรื่องนี้ก็จะไม่สนุกตามไปด้วยเสียเลย จะว่าไปผมก็แค่ตั้งข้อสังเกตไว้เท่านั้น แต่เวลาผมอ่านจริงๆ ก็แกล้งทำเป็นเอาหูไปนา-เอาตาไปไร่เสีย จะได้ไม่สูญเสียความสนุกในการอ่าน (ผมซื้อหนังสือมาเพื่อความบันเทิงนี่นา ไม่ได้เพื่อมาจับผิด แดน บราวน์)
จะว่าไปประสบการณ์ครั้งนี้ก็มีคติสอนใจ การอ่านหนังสือก็เหมือนกับการคบกับคน หากเราทำตัวรู้มากเกินไป จับผิดเขามากเกินไป ก็จะทำให้เรามองเห็นแต่แง่ร้ายจนมองข้ามแง่ดี จากที่เคยคบกันแล้วมีความสุข สนุก ตื่นเต้น ก็กลายเป็นการจับผิด มองเห็นแต่ว่าอีกฝ่ายไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่มีเหตุผล และมั่วนิ่ม
บางครั้งเพื่อให้ความสัมพันธ์ดำเนินต่อไปด้วยดีเราอาจต้องแกล้ง เอาหูไปนา-เอาตาไปไร่ .. หรือไม่ก็ "แกล้งโง่" ซะบ้าง
แต่ก็ต้องระวัง ... เรื่องบางเรื่องแกล้งโง่มากจะไม่ดี เพราะไม่งั้น ฮ่ะๆๆ อาจจะเสียค่าโง่ฟรีๆ! (เอ.. ผมหมายถึงเรื่องอะไร?)
จะไม่โด่งดังได้อย่างไร ก็หนังสือแต่ละเล่มของเขาผมอ่านแล้วแทบวางไม่ลงทั้งนั้น แม้จะหนาสักเพียงไหนก็เป็นต้องอ่านจบภายใน 2-3 วัน
เรื่องนี้การดำเนินเรื่องสนุกน่าติดตาม(เกือบจะ)ไม่แพ้เล่มอื่นๆ ของ แดน บราวน์ แต่เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัส/ถอดรหัสด้วยคอมพิวเตอร์ จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวผมมากกว่าเล่มอื่นๆ (ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับศิลปะยุโรปโบราณ หรือไม่ก็คริสตศาสนา -- ซึ่งผมแทบไม่มีความรู้เลย)
แต่การอ่านหนังสือที่เรามีความรู้มากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป โดยเฉพาะหนังสือนิยายแนวลึกลับที่ต้องใช้ความคิดติดตาม เพราะจะทำให้เราพบความไม่สมจริง ความไม่ลงรอยกันของข้อมูล จนกระทั่งถึงความ "มั่วนิ่ม" ในเนื้อเรื่องบางส่วนได้ง่าย และบางครั้งพอเจอมากๆ เข้าก็ทำให้ความบันเทิงที่ได้รับหดหายลงไป
อย่างเรื่อง Digital Fortress นี้ ผมก็รู้สึกตะหงิดๆ กับการที่คอมพิวเตอร์ชื่อ TRANSLTR ซึ่งมี processor ทำงานขนานกันอยู่สามล้านตัว สามารถถอดรหัสซึ่งมีความยาวนับ "พันล้านบิต" ได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง (หรือน้อยกว่านั้นด้วยซ้ำไป?) มันน่าตลกที่ว่า...
1) รหัสบ้าอะไรหว่า...ยาวเป็นร้อยเม็ก (แต่ก็ยังอาจจะเป็นไปได้)
2) รหัสยาวขนาดนั้น การถอดรหัสจะต้องทดลองรูปแบบที่แตกต่างกันถึง สองยกกำลังพันล้าน รูปแบบ ... หารนั่นด้วยสามล้าน(ซึ่งน้อยกว่า 2^22) ก็เท่ากับว่า cpu แต่ละตัวรับผิดชอบไปตัวละมากกว่า สองยกกำลัง(พันล้านลบยี่สิบสอง) รูปแบบ
cpu ผีเท่านั้นละมังที่จะทดลองรหัสจำนวนมากขนาดนั้นได้ภายในวันเดียว ... (หรือแม้แต่เดือนเดียว)
อีกเรื่องหนึ่งที่อ่านแล้วรู้สึกระคายเคืองเล็กน้อย ก็คือการที่เขาบอกว่า "รหัสผ่านนั้นมีความยาวถึง 64 บิต ... คงเป็นการยากที่เราจะงมเข็มค้นหารหัสที่ถูกต้อง เพราะรหัสอาจเป็นคำว่าอะไรก็ได้ที่มีความยาว 64 ตัวอักษร"
อ้าว ฮึ้ย... ตกลงว่าหนึ่งบิตคือหนึ่งตัวอักษร?
เอาเถอะครับ ผมมาเล่าให้ฟังเฉยๆ เอาเท่านี้ก่อนละกัน หากเล่ามากไปจะกลายเป็นว่าคนที่อยากอ่านเรื่องนี้ก็จะไม่สนุกตามไปด้วยเสียเลย จะว่าไปผมก็แค่ตั้งข้อสังเกตไว้เท่านั้น แต่เวลาผมอ่านจริงๆ ก็แกล้งทำเป็นเอาหูไปนา-เอาตาไปไร่เสีย จะได้ไม่สูญเสียความสนุกในการอ่าน (ผมซื้อหนังสือมาเพื่อความบันเทิงนี่นา ไม่ได้เพื่อมาจับผิด แดน บราวน์)
จะว่าไปประสบการณ์ครั้งนี้ก็มีคติสอนใจ การอ่านหนังสือก็เหมือนกับการคบกับคน หากเราทำตัวรู้มากเกินไป จับผิดเขามากเกินไป ก็จะทำให้เรามองเห็นแต่แง่ร้ายจนมองข้ามแง่ดี จากที่เคยคบกันแล้วมีความสุข สนุก ตื่นเต้น ก็กลายเป็นการจับผิด มองเห็นแต่ว่าอีกฝ่ายไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่มีเหตุผล และมั่วนิ่ม
บางครั้งเพื่อให้ความสัมพันธ์ดำเนินต่อไปด้วยดีเราอาจต้องแกล้ง เอาหูไปนา-เอาตาไปไร่ .. หรือไม่ก็ "แกล้งโง่" ซะบ้าง
แต่ก็ต้องระวัง ... เรื่องบางเรื่องแกล้งโง่มากจะไม่ดี เพราะไม่งั้น ฮ่ะๆๆ อาจจะเสียค่าโง่ฟรีๆ! (เอ.. ผมหมายถึงเรื่องอะไร?)