Friday, November 18, 2005 |
ตอนนี้สถานการณ์มันวุ่นวายเพราะมันมีหลายเรื่อง เกี่ยวกันบ้าง
ไม่เกี่ยวกันบ้าง ถูกเอามายำรวมกันมั่วไปหมด
แล้วก็ถูกใส่ไข่ตามเข้าไปด้วยความรู้สึกส่วนตัว ประเด็นสำคัญๆ
ก็อาจจะเป็นสิ่งต่อไปนี้...
1. ประเด็นที่เกี่ยวกับนายกฯ และรัฐบาล
- การแปรรูป กฟผ.
- เสรีภาพของสื่อ
- ความเคารพในพระราชอำนาจ
2. ประเด็นที่เกี่ยวกับคุณสนธิ
- การกล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างไม่เหมาะสม
ไม่ว่าเราจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับประเด็นไหน
สิ่งสำคัญที่ต้องระวังก็คือ
อย่าเพิ่งเอาความรู้สึกในประเด็นหนึ่งมาเหมารวมไปเสียหมด
ว่าเราจะต้องรู้สึกไปในทางเดียวกันในประเด็นอื่นๆ ด้วย
การทำอย่างนั้นอาจทำให้เราไม่สามารถวิเคราะห์แต่ละเรื่องได้ด้วยใจยุติธรรม
และอาจนำมาซึ่งความรู้สึกที่นำไปสู่ความรุนแรง
สำหรับผมแล้ว เรื่องที่สำคัญที่สุดขณะนี้คงเป็นประเด็น "เสรีภาพของสื่อ"
ที่ถูกคุกคามอย่างหนัก ทีมกฏหมายของนายกฯ ไล่ฟ้องนักข่าวอย่างสนุกสนาน
เป็นนัยว่าจะทำให้นักข่าวคนอื่นๆ เกรงกลัวตามไปด้วย
แต่อย่างไรนั่นก็ยังไม่จัดเป็นเรื่องเลวร้ายที่สุด
เพราะยังเป็นสิ่งที่ต้องผ่านกระบวนการของศาล (ซึ่งน่าจะยุติธรรม)
สิ่งที่น่ากลัวกว่าก็คือการคุกคามโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม
อย่างเช่นการขอร้องให้กระทรวง ICT ปิดเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ
เป็นเรื่องน่าคิดเหมือนกันว่า "ความมั่นคงของชาติ"
นี้ควรจะถูกนิยามอย่างไร
ความมั่นคงของพรรครัฐบาลนั้นเป็นเหตุผลที่จำเป็นหรือพอเพียงต่อความมั่นคงของชาติหรือไม่?
การกล่าวพาดพิงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ในแง่มุมใด/มากน้อยเพียงใดจึงจะจัดว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ?
สิ่งเหล่านี้ใครควรเป็นผู้ตัดสิน? ศาล? นายกรัฐมนตรี?
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT? หรือเจ้าหน้าที่ของบริษัท กสท.?
สื่อมวลชนก็เหมือนหูเหมือนตา เหมือนประสาทสัมผัสของประชาชน
หากประสาทสัมผัสนั้นขาดเสรีภาพแล้วประชาชนจะมีเสรีภาพได้อย่างไร
แน่นอนสื่อบางสื่ออาจมีจรรยาบรรณมาก/น้อย ต่างกัน
แต่นั่นควรเป็นเรื่องที่ปล่อยให้สื่อหรือประชาชนช่วยกันตัดสินกันเอง
ไม่ใช่ว่าควรถูกตัดสินด้วยผู้มีอำนาจสูงสุดเพียงไม่กี่คน
กรณีของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล นั้นเป็นกรณีที่น่าสนใจ
เพราะคุณสนธิเองก็อาจจะมีความรู้สึกขัดแย้งส่วนตัวกับนายกรัฐมนตรี
ในการนี้หลายคนมองว่าคุณสนธิได้ใช้หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
ซึ่งเป็นสื่อที่อยู่ในมือตนเป็นเครื่องมือต่อสู้กับความขัดแย้งนี้
และยังได้กล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่หลายครั้ง
บางครั้งก็น่าคิดว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่
ปัญหาก็คือว่า ใครควรเป็นผู้ตัดสินถึงความเหมาะสมในข้อนี้? ประชาชน?
สมาคมนักหนังสือพิมพ์? สื่อมวลชนทุกแขนง? ศาล? ฯลฯ ...
เราอาจถกเถียงกันถึงทางเลือกต่างๆ ได้มากมาย
แต่คำตอบไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ทุกคนคงเห็นด้วยว่าในระบอบประชาธิปไตย
ผู้ที่จะใช้อำนาจระงับการแสดงความคิดเห็นของสื่อนั้นไม่ควรจะเป็นบุคคลเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว
โดยเฉพาะอย่างเมื่อบุคคลนั้นมีพละกำลังสูงส่งอย่างที่คนอื่นไม่มีทางสู้ได้
เช้านี้ผมตื่นขึ้นมา มองเห็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ The Nation ใจความว่า
"Supreme Commander Gen Ruengroj Mahasaranond gave a stern warning that
the armed forces will take action if Sondhi Limthongkul of Manager
Media Group did not stop involving monarchy in his criticism on the
premier."
ผมรู้สึกเสียวสันหลังอยู่ไม่น้อยเลย
ไม่เกี่ยวกันบ้าง ถูกเอามายำรวมกันมั่วไปหมด
แล้วก็ถูกใส่ไข่ตามเข้าไปด้วยความรู้สึกส่วนตัว ประเด็นสำคัญๆ
ก็อาจจะเป็นสิ่งต่อไปนี้...
1. ประเด็นที่เกี่ยวกับนายกฯ และรัฐบาล
- การแปรรูป กฟผ.
- เสรีภาพของสื่อ
- ความเคารพในพระราชอำนาจ
2. ประเด็นที่เกี่ยวกับคุณสนธิ
- การกล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างไม่เหมาะสม
ไม่ว่าเราจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับประเด็นไหน
สิ่งสำคัญที่ต้องระวังก็คือ
อย่าเพิ่งเอาความรู้สึกในประเด็นหนึ่งมาเหมารวมไปเสียหมด
ว่าเราจะต้องรู้สึกไปในทางเดียวกันในประเด็นอื่นๆ ด้วย
การทำอย่างนั้นอาจทำให้เราไม่สามารถวิเคราะห์แต่ละเรื่องได้ด้วยใจยุติธรรม
และอาจนำมาซึ่งความรู้สึกที่นำไปสู่ความรุนแรง
สำหรับผมแล้ว เรื่องที่สำคัญที่สุดขณะนี้คงเป็นประเด็น "เสรีภาพของสื่อ"
ที่ถูกคุกคามอย่างหนัก ทีมกฏหมายของนายกฯ ไล่ฟ้องนักข่าวอย่างสนุกสนาน
เป็นนัยว่าจะทำให้นักข่าวคนอื่นๆ เกรงกลัวตามไปด้วย
แต่อย่างไรนั่นก็ยังไม่จัดเป็นเรื่องเลวร้ายที่สุด
เพราะยังเป็นสิ่งที่ต้องผ่านกระบวนการของศาล (ซึ่งน่าจะยุติธรรม)
สิ่งที่น่ากลัวกว่าก็คือการคุกคามโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม
อย่างเช่นการขอร้องให้กระทรวง ICT ปิดเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ
เป็นเรื่องน่าคิดเหมือนกันว่า "ความมั่นคงของชาติ"
นี้ควรจะถูกนิยามอย่างไร
ความมั่นคงของพรรครัฐบาลนั้นเป็นเหตุผลที่จำเป็นหรือพอเพียงต่อความมั่นคงของชาติหรือไม่?
การกล่าวพาดพิงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ในแง่มุมใด/มากน้อยเพียงใดจึงจะจัดว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ?
สิ่งเหล่านี้ใครควรเป็นผู้ตัดสิน? ศาล? นายกรัฐมนตรี?
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT? หรือเจ้าหน้าที่ของบริษัท กสท.?
สื่อมวลชนก็เหมือนหูเหมือนตา เหมือนประสาทสัมผัสของประชาชน
หากประสาทสัมผัสนั้นขาดเสรีภาพแล้วประชาชนจะมีเสรีภาพได้อย่างไร
แน่นอนสื่อบางสื่ออาจมีจรรยาบรรณมาก/น้อย ต่างกัน
แต่นั่นควรเป็นเรื่องที่ปล่อยให้สื่อหรือประชาชนช่วยกันตัดสินกันเอง
ไม่ใช่ว่าควรถูกตัดสินด้วยผู้มีอำนาจสูงสุดเพียงไม่กี่คน
กรณีของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล นั้นเป็นกรณีที่น่าสนใจ
เพราะคุณสนธิเองก็อาจจะมีความรู้สึกขัดแย้งส่วนตัวกับนายกรัฐมนตรี
ในการนี้หลายคนมองว่าคุณสนธิได้ใช้หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
ซึ่งเป็นสื่อที่อยู่ในมือตนเป็นเครื่องมือต่อสู้กับความขัดแย้งนี้
และยังได้กล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่หลายครั้ง
บางครั้งก็น่าคิดว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่
ปัญหาก็คือว่า ใครควรเป็นผู้ตัดสินถึงความเหมาะสมในข้อนี้? ประชาชน?
สมาคมนักหนังสือพิมพ์? สื่อมวลชนทุกแขนง? ศาล? ฯลฯ ...
เราอาจถกเถียงกันถึงทางเลือกต่างๆ ได้มากมาย
แต่คำตอบไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ทุกคนคงเห็นด้วยว่าในระบอบประชาธิปไตย
ผู้ที่จะใช้อำนาจระงับการแสดงความคิดเห็นของสื่อนั้นไม่ควรจะเป็นบุคคลเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว
โดยเฉพาะอย่างเมื่อบุคคลนั้นมีพละกำลังสูงส่งอย่างที่คนอื่นไม่มีทางสู้ได้
เช้านี้ผมตื่นขึ้นมา มองเห็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ The Nation ใจความว่า
"Supreme Commander Gen Ruengroj Mahasaranond gave a stern warning that
the armed forces will take action if Sondhi Limthongkul of Manager
Media Group did not stop involving monarchy in his criticism on the
premier."
ผมรู้สึกเสียวสันหลังอยู่ไม่น้อยเลย