Sunday, October 14, 2007 |
ศาสตราจารย์ แรนดี้ เพาช์ (Randy Pausch) กำลังจะตายในอีก 5 เดือนข้างหน้านี้
นี่เป็นเล็กเชอร์สุดท้ายของเขา ก่อนที่จะจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลล่อน (Carnegie Mellon) ไปพักผ่อนที่บ้านหลังใหม่
เขาซื้อบ้านหลังนี้ไว้เมื่อคณะแพทย์ยืนยันว่า เนื้องอกในตับของเขาหมดหนทางรักษาได้ และอีกครึ่งปีต่อจากนี้ไปคือครึ่งปีสุดท้ายของชีวิตเขา
แรนดี้ไม่ได้เริ่มต้นเล็กเชอร์ด้วยน้ำตา
เขาเร่่ิมต้นด้วยการมิดพื้น แล้วเอ่ยว่า "ผมยังแข็งแรงอยู่ ใครอยากจะร้องไห้สงสารผม ก็ขอเชิญลงมามิดพื้นให้ดูเสียก่อน แล้วจะสมเพชผมอย่างไรก็ได้"
หัวข้อเล็กเชอร์นี้คือ "Really Achieving Your Childhood Dreams" (คำแปล: "ทำความฝันยามเด็กให้เป็นจริง จริงๆ")
ในช่วงเวลา 1 ชั่วโมง 20 นาที ต่อมา แรนดี้ได้ให้ข้อคิดและเทคนิคต่างๆ มากมายในการนำพาตัวเองสู่ความฝัน โดยให้ตัวอย่างจากชีวิตของเขาเอง
ความฝันยามเด็กของเขาคือ:
1) อยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก
2) เล่นฟุตบอลใน NFL
3) เขียนบทความในสารานุกรมเวิอร์ลด์บุค (World Book)
4) เป็นกัปตันเคอร์ก (Captain Kirk จาก Star Trek)
5) ได้ตุ๊กตาตัวโตๆ จากเกมในสวนสนุก
6) เป็นวิศวกรแห่งจินตนาการ (Imagineer) ที่ Disney
เป็นความฝันที่บ้าบิ่น หลากหลาย และท้าทายต่อความเป็นจริง
แรนดี้ไม่ได้สำเร็จในการทำทุกความฝันให้เป็นจริง
ในบ้างข้อเขาทำได้ บางข้อทำไม่ได้ แต่เขาได้อะไรกลับมาจากการพยายามอย่างไม่หยุดหย่อน มากกว่าจุดประสงค์เริ่มต้นจากความฝันนั้นอีก
คำสอนที่ผมประทับใจมากที่สุดคงเป็น:
นี่เป็นสิ่งที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง และเป็นสิ่งที่ผมยึดถือมานานตั้งแต่ยังเด็ก ประสบการณ์ที่เราได้พยายามไขว่คว้าอะไรสักอย่างนั้น มันมักจะมีค่ายิ่งกว่าส่ิงที่เราต้องการอยู่ในขณะนั้นเสียอีก
อีกคำสอนที่ประทับใจไม่แพ้กันก็คือ:
แรนดี้ยังเสริมด้วยว่า หากเราต้องการสิ่งใดจริงๆ แล้ว อุปสรรคก็ไม่ได้มีไว้เพื่อกีดขวางเรา มันมีไว้เพื่อกีดขวางคนอื่นๆ ต่างหาก
คำสอนเหล่านี้ล้วนมีค่า แต่มันคงเป็นเพียงคำสอนที่น่าเบื่อ หากว่ามันไม่ได้มาจากปากของคนที่สามารถนำชีวิตตนเองมาเป็นตัวอย่างได้ ดังเช่นแรนดี้
ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน
ความปลาบปลื้ม ความปิติ ความฝัน แรงบันดาลใจ ความยินดี ความภูมิใจ ฯลฯ ...
... คือสิ่งที่แรนดี้ให้กับผู้ฟังในวันนั้น วันที่เขามอบเล็กเชอร์ท้ายสุด เล็กเชอร์ที่ดีที่สุด ให้กับสถาบันที่เขารักมากที่สุด
แรนดี้ไม่ได้จบเล็กเชอร์ด้วยน้ำตา
เขาจบด้วยการนำเค้กก้อนใหญ่มาวางไว้หน้าห้อง แล้วขอให้ผู้ฟังช่วยกันร้องเพลงอวยพรวันเกิด (ย้อนหลัง) ให้ภรรยา
คนที่มาฟังในวันนั้น (18 ก.ย. 50) มีทั้งนักเรียน อาจารย์ เพื่อนร่วมงาน หัวหน้าภาควิชา คณะบดี ประธานมหาวิทยาลัย ฯลฯ เต็มแน่นห้องประชุมหลัก ที่จุคนได้ 450 ที่นั่ง
แต่คนที่ได้ฟังเล็กเชอร์นี้ไม่ได้มีแค่นั้น
วิดิโอที่โพสต์ไว้ในกูเกิ้ลวิดิโอ (Google Video) ได้รับการชมไปแล้ว 310,734 ครั้ง ผมเป็นหนึ่งในนั้น (หมายเหตุ: นี่คือจำนวนครั้งการชม ไม่ใช่จำนวนผู้ชม แต่กระนั้นก็ยังเป็นตัวเลขที่สูงอยู่ดี)
ขอเชิญร่วมเป็น "นักเรียน" อีกคนหนึ่ง ได้ที่
http://video.google.com/videoplay?docid=362421849901825950&hl=en
-----
ป.ล.[1] ในตอนเริ่มต้น แรนดี้ได้กล่าวว่าเขาจะไม่ขอพูดเรื่องศาสนา แต่ขอประกาศว่า บัดนี้เมื่อรู้ว่าตนใกล้ตายเขาได้เปลี่ยนศาสนาแล้ว -- เขาเพิ่งซื้อเครื่องแมคอินทอช (Macintosh)
ป.ล. [2] คุณล่ะ จะเปลี่ยนใจใช้ mac หรือยัง?
นี่เป็นเล็กเชอร์สุดท้ายของเขา ก่อนที่จะจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลล่อน (Carnegie Mellon) ไปพักผ่อนที่บ้านหลังใหม่
เขาซื้อบ้านหลังนี้ไว้เมื่อคณะแพทย์ยืนยันว่า เนื้องอกในตับของเขาหมดหนทางรักษาได้ และอีกครึ่งปีต่อจากนี้ไปคือครึ่งปีสุดท้ายของชีวิตเขา
แรนดี้ไม่ได้เริ่มต้นเล็กเชอร์ด้วยน้ำตา
เขาเร่่ิมต้นด้วยการมิดพื้น แล้วเอ่ยว่า "ผมยังแข็งแรงอยู่ ใครอยากจะร้องไห้สงสารผม ก็ขอเชิญลงมามิดพื้นให้ดูเสียก่อน แล้วจะสมเพชผมอย่างไรก็ได้"
หัวข้อเล็กเชอร์นี้คือ "Really Achieving Your Childhood Dreams" (คำแปล: "ทำความฝันยามเด็กให้เป็นจริง จริงๆ")
ในช่วงเวลา 1 ชั่วโมง 20 นาที ต่อมา แรนดี้ได้ให้ข้อคิดและเทคนิคต่างๆ มากมายในการนำพาตัวเองสู่ความฝัน โดยให้ตัวอย่างจากชีวิตของเขาเอง
ความฝันยามเด็กของเขาคือ:
1) อยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก
2) เล่นฟุตบอลใน NFL
3) เขียนบทความในสารานุกรมเวิอร์ลด์บุค (World Book)
4) เป็นกัปตันเคอร์ก (Captain Kirk จาก Star Trek)
5) ได้ตุ๊กตาตัวโตๆ จากเกมในสวนสนุก
6) เป็นวิศวกรแห่งจินตนาการ (Imagineer) ที่ Disney
เป็นความฝันที่บ้าบิ่น หลากหลาย และท้าทายต่อความเป็นจริง
แรนดี้ไม่ได้สำเร็จในการทำทุกความฝันให้เป็นจริง
ในบ้างข้อเขาทำได้ บางข้อทำไม่ได้ แต่เขาได้อะไรกลับมาจากการพยายามอย่างไม่หยุดหย่อน มากกว่าจุดประสงค์เริ่มต้นจากความฝันนั้นอีก
คำสอนที่ผมประทับใจมากที่สุดคงเป็น:
"Experience is what you get when you didn't get what you wanted."แปลได้ว่า "ประสบการณ์คือสิ่งที่คุณจะได้รับ เมื่อคุณไม่ได้รับสิ่งที่คุณต้องการ"
นี่เป็นสิ่งที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง และเป็นสิ่งที่ผมยึดถือมานานตั้งแต่ยังเด็ก ประสบการณ์ที่เราได้พยายามไขว่คว้าอะไรสักอย่างนั้น มันมักจะมีค่ายิ่งกว่าส่ิงที่เราต้องการอยู่ในขณะนั้นเสียอีก
อีกคำสอนที่ประทับใจไม่แพ้กันก็คือ:
"Brick walls are there for a reason: they let us prove how badly we want things."แปล (แบบถอดความ) ได้ว่า "อุปสรรคขวากหนามมีเหตุผลของมัันเอง มันมีไว้เพื่อให้เราพิสูจน์ว่าเราต้องการบางสิ่งมากเพียงไร"
แรนดี้ยังเสริมด้วยว่า หากเราต้องการสิ่งใดจริงๆ แล้ว อุปสรรคก็ไม่ได้มีไว้เพื่อกีดขวางเรา มันมีไว้เพื่อกีดขวางคนอื่นๆ ต่างหาก
คำสอนเหล่านี้ล้วนมีค่า แต่มันคงเป็นเพียงคำสอนที่น่าเบื่อ หากว่ามันไม่ได้มาจากปากของคนที่สามารถนำชีวิตตนเองมาเป็นตัวอย่างได้ ดังเช่นแรนดี้
ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน
ความปลาบปลื้ม ความปิติ ความฝัน แรงบันดาลใจ ความยินดี ความภูมิใจ ฯลฯ ...
... คือสิ่งที่แรนดี้ให้กับผู้ฟังในวันนั้น วันที่เขามอบเล็กเชอร์ท้ายสุด เล็กเชอร์ที่ดีที่สุด ให้กับสถาบันที่เขารักมากที่สุด
แรนดี้ไม่ได้จบเล็กเชอร์ด้วยน้ำตา
เขาจบด้วยการนำเค้กก้อนใหญ่มาวางไว้หน้าห้อง แล้วขอให้ผู้ฟังช่วยกันร้องเพลงอวยพรวันเกิด (ย้อนหลัง) ให้ภรรยา
คนที่มาฟังในวันนั้น (18 ก.ย. 50) มีทั้งนักเรียน อาจารย์ เพื่อนร่วมงาน หัวหน้าภาควิชา คณะบดี ประธานมหาวิทยาลัย ฯลฯ เต็มแน่นห้องประชุมหลัก ที่จุคนได้ 450 ที่นั่ง
แต่คนที่ได้ฟังเล็กเชอร์นี้ไม่ได้มีแค่นั้น
วิดิโอที่โพสต์ไว้ในกูเกิ้ลวิดิโอ (Google Video) ได้รับการชมไปแล้ว 310,734 ครั้ง ผมเป็นหนึ่งในนั้น (หมายเหตุ: นี่คือจำนวนครั้งการชม ไม่ใช่จำนวนผู้ชม แต่กระนั้นก็ยังเป็นตัวเลขที่สูงอยู่ดี)
ขอเชิญร่วมเป็น "นักเรียน" อีกคนหนึ่ง ได้ที่
http://video.google.com/videoplay?docid=362421849901825950&hl=en
-----
ป.ล.[1] ในตอนเริ่มต้น แรนดี้ได้กล่าวว่าเขาจะไม่ขอพูดเรื่องศาสนา แต่ขอประกาศว่า บัดนี้เมื่อรู้ว่าตนใกล้ตายเขาได้เปลี่ยนศาสนาแล้ว -- เขาเพิ่งซื้อเครื่องแมคอินทอช (Macintosh)
ป.ล. [2] คุณล่ะ จะเปลี่ยนใจใช้ mac หรือยัง?
Comments:
<< Home
สำหรับคนที่ชื่นชอบความคิดดีๆ ของแรนดี เพาช์ แวะมาบอกค่ะว่ามี The Last Lecture ที่แรนดี เพาช์ ไปทอล์คในรายการของ Oprah แบบบรรยายไทย (Thai Subtitle) แล้วนะคะ ที่ http://video.google.com/videoplay?docid=-8703933479957779710
Post a Comment
<< Home