Monday, November 06, 2006
:: หนังสือที่ผม(เพิ่ง)อ่าน ::
ผมชอบอ่านหนังสือ อ่านแล้วเหมือนมีเพื่อนแก้เหงา มีเพื่อนช่วยคิด (บางทีเราคิดอะไรแปลกๆ แล้วไปเจอหนังสือที่คิดแปลกกว่าเรา ก็รู้สึกดีไม่น้อย)

แต่เดิม (สมัยมัธยมฯ) ผมเป็นคนไม่ค่อยชอบอ่าน เพราะรู้สึก (อย่างผิดๆ) ว่าคงไม่มีอะไรน่าสนใจให้อ่าน แม้แต่หนังสือซีไรท์บางเล่มในสมัยก่อนซึ่งผมเคยไปยืมอ่านจากห้องสมุดสวนกุหลาบฯ อ่านแล้วก็เซ็ง ไม่เข้าใจ ไม่สนุก ให้เหตุผลตัวเองอย่างผิดๆ ว่า "นี่ขนาดหนังสือที่ดีที่สุดมันยังน่าเบื่อขนาดนี้ แล้วตูจะไปอ่านอะไรได้"

แท้ที่จริงโตขึ้นถึงได้รู้ว่า ซีไรท์ เป็นรางวัลแห่งความสร้างสรรค์ ไม่ใช่ความสนุกหรือความเข้าใจง่ายแต่อย่างใด บางเล่มอาจจะสร้างสรรค์และสนุก บางเล่มสร้างสรรค์แต่ไม่สนุก ผมเผอิญไปเจออย่างหลังในคราวแรก

จนกระทั่งถึงเมื่อปี 1, แชร์ (เพื่อนเก่าแก่จากสวนกุหลาบ & Carnegie Mellon) ให้ผมยืมหนังสือ "สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง" (ซึ่งได้มาจากนอตอีกต่อหนึ่ง) ผมอ่านแล้วติดใจ เลยไปความหาหนังสือของคุณ วินทร์ เลียววาริณ มาอ่านเกือบทุกเล่มเลย (ปัจจุบันขาดแต่เล่ม "ความฝันโง่ๆ" เพียงเล่มเดียว)

แล้วผมก็เริ่มชอบการอ่านขึ้นมา เลยไปตามอ่านหนังสือของนักเขียนคนอื่นด้วย

อ่านไปหลายเล่ม แต่ไม่เคยบันทึกไว้เป็นเรื่องเป็นราว เกรงว่าวันหนึ่งจะลืม เลยขอเริ่มจากรายการหนังสือที่ผมเพิ่งอ่านไปเมื่อเร็วๆ นี้ (ก.ย. - พ.ย. 49):


The Curious Incident of the Dog in the Night-Time

by Mark Haddon
http://www.amazon.com/Curious-Incident-Night-Time-Today-Book/dp/0385512104
ที่มา: เล่มนี้พี่พีร์ (แห่ง Cal Tech) ให้ยืมอ่านระหว่างบินกลับไทยแลนด์ เมือเดือน ก.ย. 49, อ่านในเครื่องบินแทบทั้งหมด ขอขอบคุณพี่พีร์ (หมายเหตุ: "พี่พีร์" อายุน้อยกว่าผม แต่ผมจะเรียกว่าพี่ ใครจะทำไม?) สำหรับหนังสือดีๆ เล่มนี้
ความเห็น:
สนุกตื่นเต้นและน่าสนใจ เป็นการผจญภัยไปในโลกของเด็กอัจฉริยะที่มีปัญหาเรื่องพฤติกรรมแปรปรวน เด็กพวกนี้ทำและคิดอะไรแปลกๆ แต่ที่น่าตกใจก็คือว่า บางอย่างเขามีความคิดที่คล้ายเราอย่างยิ่ง! หรือว่าผมเองก็ไม่ปกติเหมือนกัน? เล่มนี้อ่านแล้วไม่เบื่อ วางไม่ลง

เด็กกำพร้าแห่งสรวงสวรรค์
โดย ภาณุ ตรัยเวช
http://www.nanmeebooks.com/book/online_cat1_detail.php?bid=1289&isbn=9908-78-3
ที่มา: ได้ข่าวมาจากชิน (รูมเมทเมื่อตอน summer, เพื่อนเก่าแก่จากค่ายคอมฯ โอ) ว่ามีอดีตตัวแทนฟิสิกส์โอลิมปิกฯ เขียนหนังสือมาหนึ่งเล่ม กำลังจะมีลุ้นได้รับรางวัลซีไรท์ ผมก็เลยไปหาซื้อมาอ่าน ซื้อจากร้าน Kinokuniya ที่สยามพารากอน กะว่าถ้าอ่านแล้วรู้สึกไม่คุ้มเงินจะไปขอเงินคืนจากผู้เขียน ซึ่งเรียนอยู่ UCLA นี่เอง
ความเห็น: เรื่องนี้ไม่สนุกสำหรับผม บางส่วนของเรื่องอาจฟังดู disturbing เกินไปบ้าง แต่ยอมรับว่าน่าสนใจและสร้างสรรค์ ควรค่ากับที่ได้รับคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรท์ (รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมฯ) วิธีการใช้ภาษาดูแปลก(ดี) ความรู้ในวัตถุดิบของเรื่องมีมาก อ่านแล้วไม่เสียดายสตางค์

ความสุขของกะทิ
โดย งามพรรณ เวชชาชีวะ
http://www.se-ed.com/shop/detail.aspx?iCode=9789749916490
ที่มา:
เห็นว่าเป็นหนังสือที่ได้ Sea Write เล่มล่าสุด เห็นเล่มบางๆ รู้สึกแปลกใจว่าได้รางวัลมาได้ยังไง ก็เลยลองซื้อมาอ่านดู
ความเห็น: เนื้อเรื่องน่ารักดี แม้จะสะเทือนใจเล็กน้อย อาจจะเหมาะกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนี้ "สร้างสรรค์" สมรางวัล เพราะมีวิธีนำเสนอเรื่อง และดึงอารมณ์คนอ่านที่ไม่เหมือนเล่มอื่น

ล.ว.สุดท้าย
โดย วสิษฐ เดชกุญชร
http://www.matichonbook.com/index.php?mnuid=5&selmnu=490327105153
ที่มา: เคยฟังคุณ วสิษฐ พูดอบรมที่สำนักงาน ก.พ. ก่อนที่จะบินมาอเมริกาเมื่อปีแรก (2544) รู้สึกว่าท่านเป็นคนที่มีอุดมณ์การณ์รักชาติน่าชื่นชม เห็นท่านเขียนนิยายมาขายก็เลยลองซื้ออ่านดู
ความเห็น: (ยังอ่านไม่จบ) รู้สึกว่าเนื้อหาน่าสนใจ ทำให้เห็นประวัติของ ตชด., ภัยคอมมิวนิสต์, และวิทีปราบคอมมิวนิสต์ (แบบที่ไม่ค่อยได้ผล) ของรัฐบาลไทยยุคเก่า ข้อเสียคือการดำเนินเรื่องไม่น่าตื่นเต้นเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะการใช้ภาษาที่เป็นทางการจนเกินควร ทำให้ขาดความน่าสนใจ อ่านแล้ววางง่าย เลยไม่จบเสียที

(แก้ไขเพิ่มเติม วันที่ 18 พ.ย. 49) อ่านจบแล้ว รู้สึกประทับใจในเนื้อเรื่องช่่วงท้าย ที่แสดงให้เห็นถึงอุปสรรคของข้าราชการไทยในการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามอุดมการณ์ โดยอุปสรรคนี้เกิดขึ้นจากค่านิยมดั้งเดิมของสังคมไทย ที่เคารพระบบอาวุโสมากเกินเหตุจนละเลยหลักการ ความรับผิดชอบ และจริยธรรมในบางครั้ง จนในที่สุด วีร์ บุญแต่ง (ตัวเอกของเรื่อง) รู้สึกท้อแท้จนถึงขั้นคิดจะลาออก ผมเชื่อว่าความรู้สึกเช่นนี้คงเคยเกิดขึ้นกับคนดีๆ ในประเทศไทยหลายคน ดังคำกล่าวที่ว่า "สังคมเลว เพราะคนดีท้อแท้" .. จะว่าไปบทกลับของข้อความนั้นก็คงเป็นจริงอยู่เหมือนกัน

คู่มือมนุษย์
โดย พุทธทาสภิกขุ
http://www.siamnovella.com/product_info.php?products_id=10163
ที่มา:
พี่นัท (ณจรวย สุวรรณทัต) ซื้อให้เป็นของขวัญเมื่อซัมเมอร์ที่ผ่านมา เพราะพี่นัทรู้ว่าผมนับถือและชื่นชอบแนวความคิดของท่านพุทธทาส ผมเอาไว้อ่านก่อนนอน
ความเห็น:
(ยังอ่านไม่จบ) ท่านพุทธทาสทำให้ผมมองพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ หนังสือเล่มนี้ชวนให้คิดในปรัชญาหลายเรื่องที่ตอนแรกดูเหมือนจะเกินตัว แต่พอคิดไปได้ระดับหนึ่งก็ทำให้สามารถมองโลกได้อย่างสบายใจมากขึ้น แม้จะยังไม่เข้าใจถ่องแท้ทั้งหมด

--- [หนังสือใต้ดิน] ---
ที่มา:
เห็นว่ามัน controversial (มากๆ) ก็เลยลองซื้อมาอ่านดู
ความเห็น:
ผู้เขียนมีอคติกับบุคคลที่เขียนถึง ในบางบทรู้สึกได้ว่าเอนเอียงและ uncharitable เป็นอันมาก ความคิดเห็นบางส่วนเป็นสิ่งที่ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามยอมรับว่าผู้เขียนค้นคว้าหาข้อมูลมามากมายจริงๆ และแหล่งข้อมูลที่อ้างถึงนั้นก็น่าสนใจที่จะไปลองหาอ่านดู เรื่องนี้ควรอ่านด้วยวิจารณญาณ ผู้ที่เชื่อคนง่ายไม่ควรอ่าน

โลกใบที่สองของโม
โดย จุก เบี้ยวสกุล + วินทร์ เลียววาริณ
http://www.winbookclub.com/bookdetail.php?bid=29
ที่มา:
ซื้อมาจากร้านดอกหญ้าที่ Thai Town ใน LA เห็นว่าเป็นเล่มล่าสุดของคุณวินทร์ เลียววาริณ นักเขียนคนโปรดของผม
ความเห็น: เนื้อเรื่องสนุกปานกลาง เรื่องนี้คุณวินทร์ตั้งโจทย์ให้ตัวเองว่าจะเอาภาพผลงานของ จุก เบี้ยวสกุล (ซึ่งมีอยู่หลากหลาย) มาผูกเรื่องเข้าด้วยกันเป็นนวนิยาย คุณวินทร์แก้โจทย์ด้วยการแต่งเรื่องขึ้นใหม่เสียเลย แล้วเอาภาพพวกนี้มาใส่เป็น "เรื่องสั้น" ประกอบความฝันของพระเอกในแต่ละคืน ซึ่งฝันต่างเรื่องกัน ดูจะเป็นทางออกที่ง่ายไปสักหน่อย แต่ก็นั่นหละ ให้ผมทำผมก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน อ่านแล้วไม่เสียดายสตางค์และเวลา อ่านจบภายในวันเดียว


Comments:
the author of 'orphanage book' is a friend of p'namtarn and p' eng ar....... hmm i'll comment behind blog about this book laew gun, finished reading it awhile ago too.
 
i should elaborate.. not that i wanna brag about his book :) ..but after knowing him awhile, guess he's on this frontier of trying new style of writing munk~ I prefer his short stories book than this one..(might wanna try..wannakam tok sra or sth) and some has good thoughts in social issue too. Then again i don't know what kind of book he wants to write, gay book, historical ficition, social conflict? can't tell
 
เพิ่งอ่านโลกใบที่สองของโมจบไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเหมือนกันค่ะ

แต่อ่านจบแล้วก็ยังไม่สามารถแยกความแตกต่างของ การ์ตูน กับ นิยายภาพ ได้อยู่ดี - -'

AimIsMad
 
ตอบพี่นัท:
นั่นดิครับ ผมก็ว่า "เด็กกำพร้าจากสรวงสวรรค์" มันแปลกๆ ยังไงชอบกล อ่านแล้วจับโฟกัสไม่ได้ หาประเด็นไม่เจอ นั่นอาจเป็นปริศนาที่ผู้เขียนสร้างไว้ให้เราคิดก็ได้ แต่เราคิดไม่ออกเท่านั้นเอง (และผมก็เลิกคิดไปแล้ว)

ตอบเอม:
ผมเองก็แยกไม่ออกครับ การ์ตูน กับ นิยายภาพ จุดแบ่งอาจอยู่ที่ว่าอย่างหนึ่งเป็นของนอก อีกอย่างหนึ่งเป็นของไทยหรือเปล่า? แต่ถ้ามองอย่างนั้นดูจะใจแคบไปนิด ชาตินิยมเกินไปหน่อย
 
Post a Comment



<< Home

This page is powered by Blogger. Isn't yours?