Friday, February 17, 2006 |
ผ่านไปเห็น blog ของคุณ Hui ที่เขียนเรื่อง Hotmail ทำไมถามยากจัง แล้วก็ทำให้นึกถึงโปรเจก Captcha ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของ Carnegie Mellon
ผมเคยเรียนวิชา Algorithms กับอาจารย์ Manuel Blum ซึ่งเป็นหนึ่งใน principal investigators ของโปรเจกดังกล่าว
Captcha ย่อมาจาก "completely automated public Turing test to tell computers and humans apart" เป็นวิธีที่เว็บดังๆ อย่างเช่น gmail, yahoo, hotmail, ฯลฯ ใช้ในการตรวจสอบว่าบุคคลที่เข้ามาใช้บริการเป็นมนุษย์จริงหรือเปล่า -- เขาไม่ได้กลัวหมาแมวที่ไหนมาใช้หรอกครับ เขากลัวโปรแกรมอัตโนมัติของพวก spammers เข้ามาใช้ต่างหาก
วิธีการที่ใช้กันโดยส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นการนำรูปภาพของตัวอักษรที่บิดเบี้ยว (เช่นแบบนี้) ขึ้นมาโชว์ขอให้ผู้ใช้พิมพ์ตัวอักษรเหล่านั้นลงไป มนุษย์(ส่วนใหญ่)ไม่มีปัญหากับโจทย์ประเภทนี้ แต่หากจะเขียนโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์อ่านตัวอักษรเหล่านั้นได้ก็คงยากเอาการ (แต่ก็มีคนพยายามทำ เช่นคนเหล่านี้ที่ Berkeley)
โปรเจก Captcha ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ยังพยายามพัฒนาต่อไปด้วยการสร้างแบบทดสอบที่ยากขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งผมคิดว่า "เอ? มนุษย์อย่างผมยังว่ามันยากไปหน่อยเลยนะ" ยกตัวอย่างเช่นตัวทดสอบที่ชื่อ ESP-PIX ซึ่งโจทย์จะแสดงรูปภาพสี่ภาพ แล้วถามเราผ่านคำถามแบบ multiple-choice ว่าคำที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพทั้งสี่มากที่สุดคือคำใด
โจทย์ส่วนใหญ่มักจะง่ายสำหรับมนุษย์ เห็นปุ๊บรู้ปั๊บว่าควรใช้คำใด เวลาตอบถูกเขาก็จะบอกว่าเรา "Passed the test" แต่ก็มีบางครั้งที่ผมเห็นภาพแล้วนึกไม่ออกเลยว่าจะเอาคำใดมาอธิบาย (นึกความสัมพันธ์ไม่ออกเลยจริงๆ ไม่ใช่นึกคำไม่ออก -- ดังนั้นนี่ไม่ใช่ปัญหาด้านภาษา) พอตอบผิดเขาก็จะบอกว่าเรา "Failed the test" ซึ่งเป็นคำพูดที่ทำให้รู้สึกแย่พอสมควร
จะไม่รู้สึกแย่ได้อย่างไร อยู่ดีๆ ก็มีคอมพิวเตอร์มาบอกเราว่า "คุณสอบตกในบททดสอบความเป็นมนุษย์" ... บัดซบ!!!
ลองเข้าไปเล่นดูสิครับ ลองได้ที่ http://gs264.sp.cs.cmu.edu/cgi-bin/esp-pix สนุกดีจริงๆ นอกจากนี้ผลการเล่นของคุณยังอาจช่วยนักวิจัยเก็บสถิติสำหรับพัฒนาระบบให้ดีขึ้นในอนาคตอีกด้วย
ดูซิว่าใครจะมีความเป็นมนุษย์มากกว่ากัน :D
ผมเคยเรียนวิชา Algorithms กับอาจารย์ Manuel Blum ซึ่งเป็นหนึ่งใน principal investigators ของโปรเจกดังกล่าว
Captcha ย่อมาจาก "completely automated public Turing test to tell computers and humans apart" เป็นวิธีที่เว็บดังๆ อย่างเช่น gmail, yahoo, hotmail, ฯลฯ ใช้ในการตรวจสอบว่าบุคคลที่เข้ามาใช้บริการเป็นมนุษย์จริงหรือเปล่า -- เขาไม่ได้กลัวหมาแมวที่ไหนมาใช้หรอกครับ เขากลัวโปรแกรมอัตโนมัติของพวก spammers เข้ามาใช้ต่างหาก
วิธีการที่ใช้กันโดยส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นการนำรูปภาพของตัวอักษรที่บิดเบี้ยว (เช่นแบบนี้) ขึ้นมาโชว์ขอให้ผู้ใช้พิมพ์ตัวอักษรเหล่านั้นลงไป มนุษย์(ส่วนใหญ่)ไม่มีปัญหากับโจทย์ประเภทนี้ แต่หากจะเขียนโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์อ่านตัวอักษรเหล่านั้นได้ก็คงยากเอาการ (แต่ก็มีคนพยายามทำ เช่นคนเหล่านี้ที่ Berkeley)
โปรเจก Captcha ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ยังพยายามพัฒนาต่อไปด้วยการสร้างแบบทดสอบที่ยากขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งผมคิดว่า "เอ? มนุษย์อย่างผมยังว่ามันยากไปหน่อยเลยนะ" ยกตัวอย่างเช่นตัวทดสอบที่ชื่อ ESP-PIX ซึ่งโจทย์จะแสดงรูปภาพสี่ภาพ แล้วถามเราผ่านคำถามแบบ multiple-choice ว่าคำที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพทั้งสี่มากที่สุดคือคำใด
โจทย์ส่วนใหญ่มักจะง่ายสำหรับมนุษย์ เห็นปุ๊บรู้ปั๊บว่าควรใช้คำใด เวลาตอบถูกเขาก็จะบอกว่าเรา "Passed the test" แต่ก็มีบางครั้งที่ผมเห็นภาพแล้วนึกไม่ออกเลยว่าจะเอาคำใดมาอธิบาย (นึกความสัมพันธ์ไม่ออกเลยจริงๆ ไม่ใช่นึกคำไม่ออก -- ดังนั้นนี่ไม่ใช่ปัญหาด้านภาษา) พอตอบผิดเขาก็จะบอกว่าเรา "Failed the test" ซึ่งเป็นคำพูดที่ทำให้รู้สึกแย่พอสมควร
จะไม่รู้สึกแย่ได้อย่างไร อยู่ดีๆ ก็มีคอมพิวเตอร์มาบอกเราว่า "คุณสอบตกในบททดสอบความเป็นมนุษย์" ... บัดซบ!!!
ลองเข้าไปเล่นดูสิครับ ลองได้ที่ http://gs264.sp.cs.cmu.edu/cgi-bin/esp-pix สนุกดีจริงๆ นอกจากนี้ผลการเล่นของคุณยังอาจช่วยนักวิจัยเก็บสถิติสำหรับพัฒนาระบบให้ดีขึ้นในอนาคตอีกด้วย
ดูซิว่าใครจะมีความเป็นมนุษย์มากกว่ากัน :D
Comments:
<< Home
ลองไปกดๆเล่น esp-pix ดูแล้ว... อืมมม มีหลายอันเลยนะที่เราคิดว่าถ้าคนตอบไม่ค่อยรู้ภาษาอังกฤษนี่ คงตอบไม่ได้หรอก
ใช่แล้วหน่อย บางทีมันก็ยากๆ อยู่เหมือนกัน ผมเคย fail (โดยไม่ได้ตั้งใจ) ด้วยหละ รู้สึกแปลกๆ เล็กน้อยอย่างที่บอก: โดนหาว่าสอบตกในบททดสอบความเป็นคน
555 หรือว่าผมควรสอบตกจริงๆ?
555 หรือว่าผมควรสอบตกจริงๆ?
วิธีการทดสอบในนิยายวิทยาศาสตร์: Do Androids Dream of Electic Sheeps? เขียนโดย Philip K. Dick เมื่อปี 1968 ในนั้นมีวิธีที่เรียกว่า Voigt-Kampff Empathy test. ใช้สำหรับแยกแยะ android กับมนุษย์
น่าสนใจจังเลยครับเจ้าเครื่อง Voight-Kampff machine เนี่ยะ ลองไปอ่านๆ ดูก็ดูเหมือนมันเป็นเครื่องจับโกหกแบบหรูๆ นี่เอง แต่เทคนิคนี้คงเอามาใช้กับ web application ยากนะครับ
ขอบคุณพี่มะนาวที่เอาความรู้มาแบ่งกัน พี่นี่สมเป็นนัก wikipedia จริงๆ ครับ :D
Post a Comment
ขอบคุณพี่มะนาวที่เอาความรู้มาแบ่งกัน พี่นี่สมเป็นนัก wikipedia จริงๆ ครับ :D
<< Home